GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

โพลชี้ ทั้งผู้เชี่ยวชาญ และ นลท.มองบวกทองสัปดาห์หน้า

500

- Advertisement -

| GRC Gold Survey 25-29 ต.ค.64 |

ผลสำรวจมุมมองต่อทิศทางราคาทองคำในประเทศรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 25-29 ต.ค. 64 จากการสำรวจ GRC Gold Survey โดย ศูนย์วิจัยทองคำ

14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 7 ราย หรือเทียบเป็น 50% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 4 ราย หรือเทียบเป็น 29% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 309 ราย ในจำนวนนี้มี 168 ราย หรือเทียบเป็น 54% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 98 ราย หรือเทียบเป็น 32% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 43 ราย หรือเทียบเป็น 14% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สถานการณ์ราคาทองคำ

ราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 27,950 – 28,300 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 28,300 บาท ต่อบาททองคำ ปรับเพิ่มขึ้น 250 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 28,050 บาท) ดูรายงาน GRC ฉบับก่อนหน้า

- Advertisement -

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

1. ประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยได้มีการคาดการณ์เงินเฟ้อในยูโรโซนที่แตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อ ECB ที่จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป

2. ประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) หลังจากรายงานข้อมูลยอดการส่งออกเดือน กันยายน 2564 เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ BOJ จะนำมาพิจารณาในการเผยแพร่คาดการณ์การเติบโตรายไตรมาสฉบับใหม่ ที่จะมีการประชุมกำหนดนโยบายปลายเดือนนี้

3. สถานการณ์เงินเฟ้อในสหรัฐฯ โดยนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) คาดการณ์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นจนถึงปีหน้า และ FED จะเริ่มปรับลดการซื้อสินทรัพย์ในเร็ว ๆ นี้ แต่จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

4. รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 3 ของปี, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน และรายงานดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล Core Personal Consumption Expenditure (PCE) เดือน กันยายน 2564 รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

ที่มา : ศูนย์วิจัยทองคำ

- Advertisement -

Comments
Loading...