GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

วิเคราะห์ราคาทองคำ 3 ก.พ.64(ภาคเช้า) by YLG

299

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

นักลงทุนสามารถปิดสถานะทำกำไรหากราคาไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,850-1,856 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพื่อรอเข้าซื้อใหม่บริเวณแนวรับ แต่หากราคาปรับลงแรงหลุดแนวรับบริเวณ 1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นักลงทุนควรปรับลดการถือสถานะซื้อลง

แนวรับ : 1,818 1,800 1,787  แนวต้าน : 1,856 1,875 1,896

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 22.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากหลายปัจจัย  ได้แก่ (1.) การดิ่งลงของโลหะเงิน   หลังจาก Chicago Mercantile Exchange (CME) ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์และสัญญาฟิวเจอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกประกาศขึ้นอัตราเงินวางหลักประกันอีก 18% ในการซื้อขาย Silver futures เป็น 16,500 ดอลลาร์/สัญญาจาก 14,000 ดอลลาร์/สัญญา สถานการณ์ดังกล่าวทำให้โลหะเงินดิ่งลงกว่า -8% จากราคาปิดวันจันทร์และดิ่งลงมากถึง -11% จาก High ในรอบ 8 ปีที่โลหะเงินขึ้นไปทดสอบในวันจันทร์จนกระตุ้นแรงขายในตลาดทองคำตามออกมา  (2.) การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์  จากการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นเร็วกว่ายุโรป หลังความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ รวมทั้งความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน COVID-19 ในสหรัฐ สวนทางกับความล่าช้าในการฉีดวัคซีน COVID-19 ในยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป  และ (3.)ความคืบหน้าเกี่ยวกับวัคซีนต้าน COVID-19 หลังจาก The Lancet รายงานว่า วัคซีน Sputnik V ของรัสเซียมีประสิทธิภาพ 91.6% ในการป้องกันไวรัส COVID-19  ปัจจัยที่กล่าวมากดดันให้เกิดแรงเทขายในตลาดทองคำ  จนกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงแรงกว่า 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์จนแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,829.61 ดอลลาร์ต่อออนซ์  สำหรับวันนี้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยคาดกนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตามเดิม  รวมถึงติดตามการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ  อาทิ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนม.ค. จาก ADP และ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการจากมาร์กิตและ ISM

จจัยทางเทคนิค :

ในระยะสั้นราคาเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideway โดยหากไม่สามารถทะลุแนวต้าน 1,850-1,856 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้ อาจย่อตัวลงไปบริเวณแนวรับ 1,821-1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยหากราคาหลุดแนวรับดังกล่าว จะเห็นแรงขายทางเทคนิคออกมาประเมินแนวรับถัดไปที่ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

หากสามารถยืนเหนือ 1,821-1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้เปิดสถานะซื้อ ตัดขาดทุนหากหลุดระดับ 1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับการปิดสถานะซื้อเพื่อทำกำไรอาจพิจารณาดูบริเวณ 1,850-1,856 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากผ่านหรือยืนได้ให้ชะลอการขายออกไป

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (-) ไฟเซอร์ยันสามารถส่งมอบวัคซีน 200 ล้านโดสให้รัฐบาลสหรัฐในเดือนพ.ค.  บริษัทไฟเซอร์ อิงค์เปิดเผยว่า ทางบริษัทจะทำการส่งมอบวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ให้แก่รัฐบาลสหรัฐจำนวน 200 ล้านโดสภายในเดือนพ.ค. เร็วกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะส่งมอบในเดือนก.ค.  นอกจากนี้ ไฟเซอร์ระบุว่า บริษัทสามารถส่งมอบวัคซีนจำนวน 2 พันล้านโดสให้แก่ประเทศต่างๆทั่วโลกภายในปีนี้
  • (-) “เม่า” กระเจิง ปั่นราคาโลหะเงินไม่สำเร็จ หลังเจอ CME ขึ้นมาร์จิ้นสวน  ราคาโลหะเงินดิ่งลงกว่า 7% ในวันนี้ หลังจาก Chicago Mercantile Exchange (CME) ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์และสัญญาฟิวเจอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศขึ้นอัตรา maintenance margin เพื่อสกัดการปั่นราคาของกลุ่มนักลงทุนรายย่อยในตลาด  ณ เวลา 21.54 น.ตามเวลาไทย สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 2.18 ดอลลาร์ หรือ 7.44% สู่ระดับ 27.23 ดอลลาร์/ออนซ์
  • (-) วัคซีน Sputnik V ของรัสเซียมีประสิทธิภาพ 91.6% ป้องกันไวรัสโควิด-19  The Lancet ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ รายงานว่า วัคซีน Sputnik V ของรัสเซียมีประสิทธิภาพ 91.6% ในการป้องกันไวรัสโควิด-19  สถาบันกามาเลยาของรัสเซียเป็นผู้พัฒนาวัคซีนดังกล่าว โดยได้ทำการทดลองในระยะที่ 3 ต่ออาสาสมัครจำนวน 19,866 ราย ซึ่งพบว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 16 รายในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน ส่วนในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอก ปรากฎว่ามีผู้ติดเชื้อ 62 ราย
  • (-) ยูโรสแตทเผยเศรษฐกิจยูโรโซนหดตัว 0.7% ใน Q4/63  สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัว 0.7% ในไตรมาส 4/2563 โดยได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลหลายประเทศในยุโรปใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดรอบ 2 ของไวรัสโควิด-19  ก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัว 12.4% ในไตรมาส 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 9.4% หลังจากหดตัว 11.8% ในไตรมาส 2
  • (-) ดอลล์แข็งเทียบสกุลเงินหลัก รับคาดการณ์ศก.สหรัฐฟื้นตัวเร็วกว่ายุโรป  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นเร็วกว่ายุโรป หลังเผชิญการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.24% แตะ 91.2011 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.08 เยน จากระดับ 104.94 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8986 ฟรังก์ จากระดับ 0.8968 ฟรังก์ แต่เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2805 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2843 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2020 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2065 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.3653 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3670 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7590 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7640 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐดีดตัว นักลงทุนจับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาความคืบหน้าของการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ  ณ เวลา 00.50 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 1.10% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.874%  ราคาพันธบัตร และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 475.57 จุด รับความหวังสหรัฐออกมาตรการกระตุ้นศก.  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่สองในวันนี้ (2 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากความหวังที่ว่ารัฐบาลสหรัฐจะผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่จนเป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากการพุ่งขึ้นของหุ้นอัลฟาเบทและหุ้นแอมะซอน รวมทั้งรายงานที่ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ในสหรัฐปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,687.48 จุด เพิ่มขึ้น 475.57 จุด หรือ +1.57% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 3,826.31 จุด เพิ่มขึ้น 52.45 จุด หรือ +1.39% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,612.78 จุด เพิ่มขึ้น 209.38 จุด หรือ +1.56%

- Advertisement -

Comments
Loading...