GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

วิเคราะห์ราคาทองคำ 10 มี.ค.64(ภาคเช้า) by YLG

295

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นหากราคาทองคำสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,695-1,684 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ และทยอยปิดสถานะทำกำไรหากไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,720-1,729 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,695 1,684 1,676 แนวต้าน : 1,729 1,741 1,753

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ทะยานขึ้นถึง 31.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำเริ่มฟื้นตัวขึ้นจากแรงซื้อ Buy the dip หลังจากราคาทองคำร่วงลงต่อจนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนบริเวณ 1,676.76 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในวันทำการก่อนหน้า  ก่อนที่ราคาทองคำจะทะยานขึ้นแข็งแกร่งในช่วงการซื้อขายของตลาดยุโรป  โดยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย  ได้แก่  (1.) การแข็งค่าของสกุลเงินยูโร  ขานรับการเปิดเผยยอดส่งออกของเยอรมนีในเดือนม.ค.ที่ดีดตัวขึ้น 1.4% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 1.2% ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันดอลลาร์ให้อ่อนค่า (2.) การแข็งค่าของเงินปอนด์  จากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ที่รวดเร็วของอังกฤษ  รวมไปถึงความเห็นของนายแอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)ที่แสดงมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอังกฤษ  ซึ่งช่วยกดดันดอลลาร์ให้อ่อนค่าเพิ่ม  (3.) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่ร่วงลงจากระดับ 1.6%ในวันก่อนหน้าสู่ระดับ 1.563% ก่อนที่กระทรวงการคลังสหรัฐจะออกประมูลพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 และ 30 ปีในวันพุธและพฤหัสตามเวลาสหรัฐ  และ (4.) การเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมของสหรัฐจาก NFIB ที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์  ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมา  กดดันดัชนีดอลลาร์ให้อ่อนค่าลง 0.40% สู่ระดับ 91.97 จนเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำให้พุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 1,720 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมือคืนนี้   อย่างไรก็ดี  กองทุน SPDR ยังคงถือครองทองลดลงอีก -1.45 ตันจึงเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกราคาทองคำเอาไว้  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ  และจับตาความเคลื่อนไหวของดัชนีดอลลาร์และ.) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีเช่นเดิม

จจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำไม่สามารถ break out ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,729 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไปได้ อาจมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นให้กลับลงมาตั้งฐานราคาด้านล่างอีกครั้ง เบื้องต้นประเมินว่าราคายังคงเคลื่อนไหวระหว่าง 1,684-1,729 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนราคาระดับ 1,695-1,684 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ จึงจะมีแรงดีดกลับไปทดสอบแนวต้านด้านบนอีกครั้ง

กลยุทธ์การลงทุน :

เปิดสถานะซื้อหากราคาอ่อนตัวลงมาในโซน 1,695-1,684 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมลดการลงทุนหากราคาหลุด 1,684 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ อาจพิจารณาแบ่งทองคำออกขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,720-1,729 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐเผยดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมปรับตัวขึ้นในเดือนก.พ.  สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) แถลงในวันนี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมปรับตัวขึ้น 0.8 จุด สู่ระดับ 95.8 ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากร่วงลงติดต่อกัน 3 เดือน  ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมได้รับแรงหนุนจากการจ้างงานและรายได้ที่เพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นยังคงต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 96.5
  • (+) ดอลล์อ่อนค่าตามทิศทางบอนด์ยีลด์ นลท.จับตาประชุมเฟด ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 มี.ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอ่อนตัวลง ขณะที่สกุลเงินยูโรแข็งค่าขานรับรายงานยอดส่งออกที่สดใสของเยอรมนี  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.39% สู่ระดับ 91.9548 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 108.46 เยน จากระดับ 108.86 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9280 ฟรังก์ จากระดับ 0.9351 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2632 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2655 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1900 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1858 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3897 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3837 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7717 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7662 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) อินเดียยันไม่มีการขาดแคลนวัคซีนโควิด-19 ในประเทศ  รัฐบาลอินเดียออกแถลงการณ์ ยืนยันว่าไม่มีการขาดแคลนวัคซีนโควิด-19 ในรัฐราชสถาน หรือในรัฐใดในประเทศ  กระทรวงสาธารณสุขอินเดียระบุว่า รัฐบาลได้จัดส่งวัคซีนไปรัฐต่างๆทั่วประเทศ โดยขึ้นอยู่กับความต้องการ และรูปแบบการบริโภคในรัฐต่างๆ  ทั้งนี้ อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการผลิตวัคซีนโควิด-19 รายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ทำการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 23 ล้านโดสให้แก่ประชาชนจำนวนราว 17 ล้านคน
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 30.30 จุด รับแรงซื้อหุ้นเทคโนฯ-แผนกระตุ้นศก.คืบหน้า  ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (9 มี.ค.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้นกว่า 400 จุด โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนช้อนซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งร่วงลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวลง รวมทั้งความหวังที่ว่า สภาคองเกรสสหรัฐจะเร่งอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศณษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ที่นำเสนอโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,832.74 จุด เพิ่มขึ้น 30.30 จุด หรือ +0.10% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,875.44 จุด เพิ่มขึ้น 54.09 จุด หรือ +1.42% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,073.82 จุด เพิ่มขึ้น 464.66 จุด หรือ +3.69%
  • (+/-) ยูโรสแตทเผยเศรษฐกิจยูโรโซนหดตัว 0.7% ในไตรมาส 4/63  สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของยูโรโซน หดตัวลง 0.7% ในไตรมาส 4/2563 เมื่อเทียบรายไตรมาส ซึ่งย่ำแย่กว่าตัวเลขประมาณการเบื้องตันที่ระบุว่าหดตัว 0.6%  เมื่อเทียบรายปี เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวลง 4.9% ในไตรมาส 4 ซึ่งดีกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องตันที่ระบุว่าหดตัว 5.0%
  • (+/-) สภาผู้แทนฯสหรัฐยืนยันเตรียมโหวตกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจพรุ่งนี้  สำนักงานของนายสเตนี โฮเยอร์ ผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ออกแถลงการณ์ระบุว่า ทางสภาผู้แทนราษฎรได้รับร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์จากวุฒิสภาแล้ว ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะทำการพิจารณาและลงมติต่อร่างกฎหมายดังกล่าวในวันพรุ่งนี้  ก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวระบุว่า สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอาจลงมติต่อร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดในวันนี้  หากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐให้การอนุมัติร่างกฎหมายฉบับนี้ ก็จะส่งต่อไปยังประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายก่อนวันที่ 14 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่มาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานในปัจจุบันจะหมดอายุลง

- Advertisement -

Comments
Loading...