GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 8 ก.ค.64(ภาคเช้า) by YLG

296

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

สถานะซื้อสามารถถือทองคำต่อได้หากราคาไม่หลุดแนวรับ 1,787-1,774 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และไปรอลุ้นขายทำกำไรบริเวณแนวต้าน  1,815-1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,787 1,774 1,766  แนวต้าน : 1,815 1,831 1,846

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  6.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์   โดยราคาทองคำดีดตัวขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย  โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 4 เดือนที่ 1.296% จากคำสั่งซื้อคืนพันธบัตรเพื่อตัดขาดทุนสถานะขายในสัญญา 10-year Treasury ฟิวเจอร์ส  ไปจนถึงการที่นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  ท่ามกลางความวิตกหลังสัดส่วนของการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าในสหรัฐเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 6% ในช่วงต้นเดือนมิ.ย. เป็นระดับประมาณ 25% ซึ่งก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ  สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นแรงซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจนกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มเติม  นอกจากนี้  ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากการเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานของสหรัฐซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดสู่ระดับ 9.2 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค.  ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,809.57 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ทองคำถูกสกัดช่วงบวกจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์  แต่การปรับตัวลงของราคาก็อยู่ในกรอบจำกัดเช่นกัน  เนื่องจากรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ประจำเดือนมิ.ย. ไม่มี Hawkish surprise เพิ่มเติม  และโดยรวมยังบ่งชี้ว่าเฟดยังไม่บรรลุ ‘substantial progress’ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเริ่มกลับมาดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงิน  นั่นทำให้ราคายังสามารถปิดตลาดวานนี้เหนือ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -1.75 ตัน  สำหรับวันนี้  ติดตามการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ

จจัยทางเทคนิค :

แม้ว่าแรงขายจะลดลงแต่แรงช้อนซื้อสลับเข้ามาก็ไม่มาก หากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือ 1,815 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจมีผลให้ราคาปรับตัวลงเพื่อสะสมกำลัง หากราคาทองย่อตัวลงมาพยายามทรงตัวเหนือระดับ 1,787-1,774 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ มีโอกาสเกิดแรงซื้อดันราคาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นการเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาใกล้ 1,787-1,774 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,774 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หรือ หากถือครองทองคำอยู่แล้วอาจเลือกแบ่งทองคำออกขายทำกำไรหากราคาไม่ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,815-1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) สหรัฐพบผู้ป่วยโควิด-19 พุ่ง หลังสายพันธุ์เดลตาระบาดเร็ว  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า หลายรัฐในสหรัฐกำลังเผชิญปัญหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น และผู้ที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลพุ่งสูงขึ้น ขณะโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศ  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐเปิดเผยว่า มีการตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 มากขึ้นในรัฐที่มีอัตราการฉีดวัคซีนลดลง เช่น แอละแบมา, อาร์คันซอ, ลุยเซียนา และมิสซิสซิปปี  ในรัฐที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ผู้อยู่อาศัยในสัดส่วนต่ำกว่าภาพรวมของประเทศมีอัตราผู้ติดเชื้อโควิด-19 ล่าสุดสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 เท่า
  • (+) สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสินเชื่อจำนองลดลงสัปดาห์ที่แล้ว แม้ดอกเบี้ยปรับตัวลง  สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจากราคาบ้านที่พุ่งขึ้น และสต็อกบ้านที่ตึงตัว แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวลง  ทั้งนี้ จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง 1.8% ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยปรับตัวลงเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน  จำนวนผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์ลดลง 2% ในสัปดาห์ที่แล้ว และลดลง 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 
  • (+) อียูปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนแตะ 4.8% ปีนี้  คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซนปี 2564 และปี 2565 แต่ยังคงเตือนถึงความเสี่ยงจากเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งอาจบีบบังคับให้ต้องมีการใช้มาตรการควบคุมโรคจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกครั้ง  ทั้งนี้ EC คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนจะขยายตัว 4.8% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าระดับคาดการณ์เดือนพ.ค.ที่ 4.3% โดยได้รับแรงหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งส่งผลดีต่อภาคบริการ และมีแนวโน้มที่จะช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวในยุโรป  นอกจากนี้ EC คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อไปในปีหน้า หรือที่ระดับ 4.5%
  • (+) สหรัฐเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานพุ่งเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ค.  สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 9.2 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนธ.ค.2543 แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 9.39 ล้านตำแหน่ง
  • (+) ผลสำรวจชี้ผู้ใหญ่อเมริกันเมินฉีดวัคซีนต้านโควิด 30%  สถานีโทรทัศน์เอบีซี รายงานว่า 30% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐไม่เข้ารับการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และไม่มีแผนที่จะฉีดวัคซีน ซึ่งก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการฟื้นตัวของสหรัฐจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ผลสำรวจของเอบีซี นิวส์/วอชิงตัน โพสต์ระบุว่า ในบรรดาผู้ที่ปฏิเสธการฉีดวัคซีนนั้น 73% ระบุว่า เจ้าหน้าที่ของสหรัฐกล่าวเกินจริงเกี่ยวกับความเสี่ยงของไวรัสสายพันธุ์เดลตา และ 79% คิดว่าพวกเขามีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยที่จะติดเชื้อโควิด-19 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระบุว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากต่อผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีน ขณะที่มีผู้ติดเชื้อดังกล่าวรายใหม่มากกว่า 1 ใน 4 ของประเทศ
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 104.42 จุด ขานรับรายงานประชุมเฟด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (7 ก.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดทำนิวไฮ ขานรับรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งส่งสัญญาณว่า กรรมการเฟดอาจยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยสัญญาณบวกดังกล่าวช่วยหนุนทั้งหุ้นคุณค่า (Value Stocks) และหุ้นเติบโต (Growth Stocks)  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,681.79 จุด เพิ่มขึ้น 104.42 จุด หรือ +0.30% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,358.13 จุด เพิ่มขึ้น 14.59 จุด หรือ +0.34% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,665.06 จุด เพิ่มขึ้น 1.42 จุด หรือ +0.01%
  • (-) ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อย หลังเฟดเผยรายงานประชุม  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (7 ก.ค.) หลังรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า กรรมการเฟดอาจยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.1% แตะที่ 92.6390 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9250 ฟรังก์ จากระดับ 0.9247 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2477 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2461 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 110.61 เยน  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1806 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1823 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3801 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3800 ดอลลาร์

- Advertisement -

Comments
Loading...