GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 4 ม.ค.65 by YLG

264

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

บริเวณ 1,797-1,793 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่หลุด แนะนำเสี่ยงเข้าซื้อ เพื่อทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว  ทั้งนี้ สามารถทยอยแบ่งปิดสถานะซื้อทำกำไร หากราคาดีดตัวขึ้นไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,817-1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,793 1,779 1,762  แนวต้าน : 1,817 1,831 1,845

จจัยพื้นฐาน

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดดิ่งลง 28.14ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ราคาทองคำจะเปิดตลาดในปี 2022 ด้วยการปรับตัวขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 สัปดาห์ครั้งใหม่บริเวณ 1,831.65 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้าของตลาดเอเชีย  แต่ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยเผชิญกับแรงขายทำกำไรตลอดทั้งวัน  ก่อนที่ราคาทองคำจะปรับตัวลงแรงในช่วงตลาดสหรัฐ  โดยได้รับแรงกดดันหลักมาจากการที่นักลงทุนกลับมาเปิดรับความเสี่ยง(Risk on) จากมุมมองบวกที่ว่าไวรัสCOVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งมุมมองดังกล่าวกระตุ้นแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยง  จนผลักดันให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น246.76จุดหรือ +0.68%, ดัชนี S&P500 ปิด +0.64% และดัชนี Nasdaq ปิด +1.20% พร้อมกับเกิดแรงขายสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ  ทั้งนี้  แรงขายพันธบัตรได้หนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ10ปีให้พุ่งขึ้นเหนือระดับ1.6% แตะระดับสูงสุดในรอบ6สัปดาห์ที่1.64% ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย  ขณะเดียวกัน  การพุ่งขึ้นของบอนด์ยีลด์ได้ผลักดันให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตาม  ประกอบกับนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค.ปีนี้ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนบอนด์ยีลด์และดอลลาร์เพิ่มเติม  ปัจจัยที่กล่าวมากดดันให้เกิดแรงขายจนกระทั่งราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,797.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM และตําแหน่งงานว่างเปิดใหม่ (JOLTS Job Openings)ของสหรัฐ

จจัยทางเทคนิค :

หลังจากราคาทิ้งตัวลงแรง หากรักษาระดับได้ทำให้ราคามีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านในโซน 1,817 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แสดงถึงแรงเข้าซื้อในระยะสั้น หากยืนได้แข็งแกร่งมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบ แนวต้านถัดไป 1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ระดับสูงสุดวันก่อนหน้า)ขณะที่แนวรับนั้นอยู่ในบริเวณ 1,797-1,793 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เปิดสถานะซื้อหากราคาอ่อนตัวลงมาในโซน 1,797-1,793 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมลดการลงทุนหากราคาหลุด 1,793ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้อาจพิจารณาแบ่งทองคำออกขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,817-1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์แต่หากผ่านได้ถือสถานะซื้อต่อ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนเดือนธ.ค.ยังแกร่ง หลังปัญหาห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวลงเพียงเล็กน้อยที่ระดับ 58.0 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 58.4 ในเดือนพ.ย. ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลคาดการณ์ขั้นต้น
  •   กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนต.ค.  เมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 9.3% ในเดือนพ.ย.
  • 1.6%ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (3 ม.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค.  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.64% แตะที่ 96.2053 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.29 เยน จากระดับ 115.08 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9181 ฟรังก์ จากระดับ 0.9117 ฟรังก์นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2747 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2640 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1297 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1384 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.3483 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3533 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7190 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7270 ดอลลาร์สหรัฐ
  • 246.76 จุด ทำนิวไฮ ตลาดมั่นใจโอมิครอนไม่กระทบศก.ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮในวันจันทร์ (3 ม.ค.) ขานรับมุมมองบวกที่ว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทแอปเปิล อิงค์ และหุ้นบริษัทเทสลา มอเตอร์  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,585.06 จุด เพิ่มขึ้น 246.76 จุด หรือ +0.68%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,796.56 จุด เพิ่มขึ้น 30.38 จุด หรือ +0.64% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,832.80 จุด เพิ่มขึ้น 187.83 จุด หรือ +1.20%
  • PMI ภาคผลิตธ.ค.ยังทรงตัวไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของเยอรมนี ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 57.4 ในเดือนธ.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า แต่อยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ขั้นต้นที่ระดับ 57.9  ดัชนี PMI ยังคงปรับตัวสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของเยอรมนียังคงมีการขยายตัว  นักวิเคราะห์ระบุว่า ปัจจัยลบที่กดดันภาคการผลิตของเยอรมนีนั้นมาจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งกระทบต่อหลายอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเฉพาะในภาคยานยนต์
  • 5 ชาติมหาอำนาจออกแถลงการณ์ยันไม่ทำสงครามนิวเคลียร์5 ชาติมหาอำนาจของโลกออกแถลงการณ์ร่วมกันในวันนี้ โดยยืนยันว่าจะหลีกเลี่ยงการทำสงครามนิวเคลียร์ และอาวุธนิวเคลียร์ควรมีไว้สำหรับป้องกันตนเองเท่านั้น  ทั้งนี้ สหรัฐ รัสเซีย จีน อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ตามสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ได้ให้คำมั่นที่จะดำเนินการไปสู่การปลดอาวุธนิวเคลียร์เพื่อแลกกับการที่รัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์จะต้องให้สัญญาว่าจะไม่พยายามแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์
  • FDA ไฟเขียวฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3 ให้เด็กอายุ 12-15 ปีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) อนุมัติการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ของไฟเซอร์/ไบออนเทคในวันนี้สำหรับเด็กที่มีอายุ 12-15 ปี ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-18 สายพันธุ์โอมิครอน  นอกจากนี้ FDA ยังได้อนุมัติการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ของไฟเซอร์/ไบออนเทคสำหรับเด็กที่มีอายุ 5-11 ปีที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องขณะเดียวกัน FDA ได้ลดระยะห่างของช่วงเวลาการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 และ 3 เป็น 5 เดือน จากเดิมกำหนดไว้ 6 เดือน
  • PMI ภาคการผลิตสหรัฐปรับตัวลงในเดือนธ.ค.ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 57.7 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในปี 2564 จากระดับ 58.3 ในเดือนพ.ย.  การร่วงลงของดัชนี PMI มีสาเหตุจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน แต่ได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจ

- Advertisement -

Comments
Loading...