GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 31 ส.ค.64 by YLG

265

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาใกล้ 1,807-1,789 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,789 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หรือหากรับความเสี่ยงได้ไม่มากอาจเลือกชะลอการเปิดสถานะขายออกไป

แนวรับ : 1,807 1,789 1,770  แนวต้าน : 1,833 1,849 1,864

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง  6.82 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,823.04 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้าของวานนี้ในตลาดเอเชีย  โดยได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากวันศุกร์ หลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดจะไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย  แม้เฟดอาจเริ่มปรับวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ก่อนสิ้นปีนี้ก็ตาม  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรหลังจากราคารับตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือน  ประกอบกับเกิดสัญญาณทางเทคนิคที่บ่งชี้ว่าแรงซื้อเริ่มชะลอตัวลง  นอกจากนี้ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากดัชนีดอลลาร์ที่ปิดตลาดแข็งค่าขึ้น +0.02% โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนจากธุรกิจต่างๆ สำหรับทำธุรกรรมการนำเข้าและส่งออก  สถานการณ์ที่กล่าวมากดดันให้ราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,806.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์    แต่การปรับตัวลงของราคาทองคำเป็นไปอย่างจำกัด  เนื่องจากดัชนีดอลลาร์ยังคงแกว่งตัวไม่ไกลระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์  ขณะที่ัการเปิดเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ของสหรัฐที่ลดลงสวนทางคาดการณ์  และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.275% เหล่านี้เป็นปัจจัยสกัดช่วงติดลบของราคาทองคำ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำมาเปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้  ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาบ้านเดือนมิ.ย.โดย S&P/CS, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)เขตชิคาโก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.จาก CB

จจัยทางเทคนิค :

แม้จะมีแรงซื้อให้ราคาดีดตัวขึ้นอย่างมากแต่ยังคงเห็นแรงขายกดดันเมื่อราคาปรับตัวขึ้นเข้าใกล้กรอบแนวต้านด้านบน หากการดีดตัวของราคายังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านโซน  1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ระดับสูงสุดของเดือน ก.ค.) อาจทำให้เกิดแรงขายกดดันให้ปรับตัวลงสู่ระดับ 1,807-1,789 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เบื้องต้นประเมินการเคลื่อนไหวของราคาในแบบของการแกว่งตัวเพื่อสะสมแรงซื้อหากยืนได้จะเกิดการดีดตัวขึ้นต่อ

กลยุทธ์การลงทุน :

ถ้าราคาเกิดการอ่อนตัวลงมาอาจเปิดสถานะซื้อใหม่หากราคาทองคำไม่หลุด 1,807-1,789 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามลดพอร์ตการลงทุนหากราคาหลุด 1,789ดอลลาร์ต่อออนซ์  และผู้ถือสถานะโดยอาจปิดสถานะทำกำไรในบริเวณ 1,828-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์หากราคายังยืนได้ไม่แข็งแกร่ง

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) หน่วยงานตรวจสอบนิวเคลียร์เชื่อ ‘เกาหลีเหนือ’ เริ่มเปิดเตาปฏิกรณ์ปรมาณูอีกครั้งสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ (IAEA) เปิดเผยในรายงานประจำปีว่า ดูเหมือนเกาหลีเหนือได้เริ่มเปิดเตาปฏิกรณ์ปรมาณูอีกครั้ง ซึ่งเชื่อว่าใช้ในการผลิตพลูโตเนียมสำหรับอาวุธนิวเคลียร์  ไอเออีเอ ระบุว่า เกาหลีเหนือปิดเตาปฏิกรณ์ขนาด 5 เมกะวัตต์ที่โรงงานนิวเคลียร์เมืองยองเบียน ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2018 และคาดว่าได้เริ่มเปิดใช้อีกครั้งเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมปีนี้ โดยมีตัวบ่งชี้หลายอย่าง รวมทั้งการปล่อยน้ำหล่อเย็นซึ่งใช้กับเตาปฏิกรณ์ออกมา
  • (+) สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายลดลง สวนทางคาดการณ์สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ลดลง 1.8% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากร่วงลง 2.0% ในเดือนมิ.ย.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีจะปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนก.ค.
  • (+) แบงก์ชาติฝรั่งเศสชี้ ECB ควรคำนึงถึงสภาพการเงินยูโรโซนในการพิจารณาโครงการซื้อบอนด์นายฟรังซัวส์ วิลเลอรอย เดอ กาลฮาว ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า ECB ควรจะคำนึงถึงสภาพการเงินล่าสุดที่ปรับตัวดีขึ้น ในการหารืออนาคตของการซื้อทรัพย์สินรายเดือนที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  นายวิลเลอรอยซึ่งเป็นประธานธนาคารกลางฝรั่งเศสกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะทำให้ต้องตัดสินอนาคตของโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ในที่ประชุม ECB ประจำเดือนก.ย. เพราะ ECB ต่างกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่สามารถปรับการซื้อรายเดือนได้ตามสภาพการเงิน  นายวิลเลอรอยระบุว่า สภาพการเงินในยูโรโซนที่ดีขึ้นนับตั้งแต่การประชุมล่าสุดของ ECB ในเดือนมิ.ย. โดยกล่าวว่า “การหารือของเราควรจะคำนึงถึงสภาพการเงินที่ดีขึ้นด้วย”  นอกจากนี้ นายวิลเลรอยยังกล่าวด้วยว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสและยูโรโซนควรจะกลับไปสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ในต้นปี 2565 หรือเร็วกว่านั้น และไม่มีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะสูงอย่างต่อเนื่องในตอนนี้
  • (-) ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยูโรโซนปรับตัวลงแตะ 117.5 เดือนส.ค.คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนปรับตัวลงแตะ 117.5 ในเดือนส.ค. จากระดับ 119.0 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
  • (-) สหรัฐยันไม่มีผู้เสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์/โมเดอร์นาศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) แถลงว่า ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่า มีวัยรุ่นได้เสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นา
  • (+/-) ดอลล์อ่อนตามทิศทางบอนด์ยีลด์ จับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 ส.ค.) หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐร่วงหลุดจากระดับ 1.3% ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนและตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.03% แตะที่ 92.6613 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.88 เยน จากระดับ 109.82 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9165 ฟรังก์ จากระดับ 0.9115 ฟรังก์ แต่เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2607 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2619 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1803 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1793 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ทรงตัวที่ระดับ 1.3767 ดอลลาร์
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดลบ 55.96 จุดหลังหุ้นแบงก์ร่วง,Nasdaq ทำนิวไฮรับแรงซื้อหุ้นเทคโนฯดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 ส.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ยืนยันว่า เฟดจะไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,399.84 จุด ลดลง 55.96 จุด หรือ -0.16% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,528.79 จุด เพิ่มขึ้น 19.42 จุด หรือ +0.43% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,265.89 จุด เพิ่มขึ้น 136.39 จุด หรือ +0.90%
  • (+/-) เยอรมนีเผยเงินเฟ้อพุ่ง 3.4% ในเดือนส.ค. สูงสุดรอบ 13ปีสำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2551 และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 3.1% ในเดือนก.ค.

- Advertisement -

Comments
Loading...