GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 20 ส.ค.64 by YLG

364

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

หากราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,790-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วน และเมื่อราคาอ่อนตัวลงให้เข้าซื้อคืนเพื่อทำกำไรบริเวณแนวรับ 1,770-1,768 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,768 1,751 1,734  แนวต้าน : 1,796 1,814 1,833

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง  7.15 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ในระหว่างวันราคาทองคำแกว่งตัวผันผวนในกรอบ  ขณะที่ในช่วงต้นของการซื้อขายในตลาดเอเชีย  ราคาทองคำปรับตัวลงก่อนโดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์  ท่ามกลางแรงซื้อสกุลเงินดอลลาร์จากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าในวงกว้างซึ่งฉุดสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน  รวมไปถึงรายงานการประชุมเดือนก.ค.ที่บ่งชี้ว่าเฟดกำลังพิจารณาถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินในปีนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นทั่วโลก  นั่นส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,774.35ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนที่ราคาทองคำจะฟื้นตัวขึ้นในเวลาต่อมา  โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อ Buy the dip  นอกจากนี้ราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุด 1.223% จากแรงซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  ขณะที่ดัชนีดอลลาร์พักตัวลงในระหว่างวัน สถานการณ์ดังกล่าวช่วยให้ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นมาทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,791.98 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยเผชิญกับแรงขายทำกำไร  ประกอบกับดัชนีดอลลาร์กลับมาพุ่งขึ้นอีกครั้งจนแตะระดับ93.587 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนและปิดตลาดด้วยการแข็งค่าขึ้น 0.44% ทำให้ราคาทองคำร่วงลงมาปิดตลาดในแดนลบ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

จจัยทางเทคนิค :

หลังจากราคาทองคำดีดตัวขึ้นในระยะสั้น ก็มีแรงขายทำกำไรสลับออกมาแสดงให้เห็นถึงการแกว่งตัวในทิศทางที่ค่อยๆขยับลง โดยราคาลดระดับต่ำสูงสุดลงในรายวันได้ เบื้องต้น หากราคาทองคำยังไม่สามารถยืน 1,790-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ โดยนักลงทุนต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรออกมาที่อาจเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกดดันราคาทองคำให้ลงสู่แนวรับในระดับ 1,770-1,768 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้

กลยุทธ์การลงทุน :

แนะนำการเปิดสถานะขายอาจพิจารณาในโซน 1,790-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายออกไปโซนแนวต้านสำคัญ 1,814 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากผ่านได้) ปิดสถานะขายทำกำไรในบริเวณแนวรับ 1,770-1,768 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) อดีตที่ปรึกษาความมั่นคงสหรัฐชี้อัฟกานิสถานอาจกลายเป็นฐานกลุ่มก่อการร้ายอีกครั้งนายจอห์น โบลตัน อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐกล่าวว่า การที่กลุ่มตาลีบันหวนคืนอำนาจในอัฟกานิสถานอาจทำให้ประเทศแห่งนี้กลายเป็นแหล่งพำนักของกลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคอีกครั้ง
  • (+) “โกลด์แมน แซคส์” หั่น GDP Q3/64 ของสหรัฐเหลือ 5.5% จากพิษเดลตาโกลด์แมน แซคส์ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3 ของสหรัฐ เหลือเพียง 5.5% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 9% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐจะพุ่งขึ้นสูงกว่าคาดในช่วงที่เหลือของปีนี้  ทั้งนี้ โกลด์แมน แซคส์ระบุในรายงานว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาได้ส่งผลกระทบมากกว่าคาดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เนื่องจากกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคการผลิต  “การใช้จ่ายสำหรับการรับประทานอาหาร การเดินทาง และบริการอื่นๆมีแนวโน้มปรับตัวลงในเดือนส.ค. แม้เราคาดว่าการปรับตัวลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและไม่รุนแรง” รายงานระบุ  อย่างไรก็ดี โกลด์แมน แซคส์ระบุว่า ภาวะชะงักงันในห่วงโซ่อุปทานจะดำเนินไปนานกว่าที่คาดไว้  ขณะเดียวกัน โกลด์แมน แซคส์ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ GDP ประจำไตรมาส 4 สู่ระดับ 6.5% จากเดิมที่ระดับ 5.5% โดยระบุว่า ความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะบรรเทาลง ขณะที่ภาคบริการยังคงฟื้นตัวขึ้น
  • (-) เฟดฟิลาเดลเฟียเผยดัชนีภาวะธุรกิจมิด-แอตแลนติกต่ำสุดรอบ 8เดือนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติกร่วงลงสู่ระดับ 19.4 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2563 จากระดับ 21.9 ในเดือนก.ค.  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีภาวะธุรกิจจะอยู่ที่ระดับ 23.0 ในเดือนส.ค.
  • (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานต่ำสุด 17เดือนนับตั้งแต่เกิดโควิดกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ348,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยเป็นการปรับตัวลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐเมื่อเดือนมี.ค.2563 จากระดับ 377,000 รายในสัปดาห์ก่อนหน้านี้  นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 363,000 ราย
  • (-) ดอลล์แข็งค่า ขานรับเฟดส่งสัญญาณลด QE ปีนี้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ส.ค.) ขานรับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปีนี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.45% แตะที่ 93.5632 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9185 ฟรังก์ จากระดับ 0.9166 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2819 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2633 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 109.78 เยน จากระดับ 109.89 เยน  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1676 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1711 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3639 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3761 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7151 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7242 ดอลลาร์
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดลบ 66.57 จุด เหตุวิตกไวรัสเดลตาฉุดหุ้นวัฏจักรร่วงดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (19 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stocks) ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ปิดในแดนบวก โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,894.12 จุด ลดลง 66.57 จุด หรือ -0.19% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,405.80 จุด เพิ่มขึ้น 5.53 จุด หรือ +0.13% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,541.79 จุด เพิ่มขึ้น 15.87 จุด หรือ +0.11%

- Advertisement -

Comments
Loading...