GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 2 พ.ย.64 by YLG

264

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

ราคาอยู่ในช่วงการพักฐาน โดยเน้นการซื้อขายทำกำไรระยะสั้น หากราคาไม่สามารถยืนเหนือโซนแนวต้านบริเวณ 1,795-1,805ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ทำให้ราคายังคงมีโอกาสขยับลงทดสอบแนวรับบริเวณ 1,777-1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,770 1,760 1,745  แนวต้าน : 1,795 1,805 1,821

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  9.80  ดอลลาร์ต่อออนซ์โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  ทั้งนี้  ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจากแรงขายกำไรหลังจากปรับตัวเพิ่มขึ้นในรายวันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 4 เดือนในวันทำการก่อนหน้า  นอกจากนี้  ดัชนีดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่บางรายการออกมาแย่เกินคาด  อาทิ  การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลง 0.5% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.4% และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐจากมาร์กิต ที่ปรับตัวลงเกินคาดสู่ระดับ 58.4 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน สถานการณ์ดังกล่าวกดดันให้ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.30% แตะที่ 93.878 จนเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่หนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้น  จนกระทั่งราคาทองคำปรับตัวขึ้นทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยระยะ 50, 100 และ 200 วันซึ่งส่งผลให้เกิดแรงซื้อทางเทคนิคเพิ่มเติม  ประกอบกับสัปดาห์นี้ตรงกับช่วงเทศกาลดีวาลี (Diwali) หรือเทศกาลแห่งแสง ที่ชาวอินเดียนิยมซื้อของทองคำจึงอาจเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการฟื้นตัวของราคาทองคำอีกด้วยปัจจัยที่กล่าวมาหนุนให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,778.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  เริ่มเกิดแรงขายทำกำไรสลับออกมาในช่วงปลายตลาด  เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังในการถือครองสถานะก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะประชุมนโยบายการเงินเสร็จสิ้นในช่วงกลางสัปดาห์นี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเฟดจะประกาศแผนการปรับลด QE ในการประชุมรอบนี้  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -2.62 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตาม

จจัยทางเทคนิค :

หลังจากราคาทิ้งตัวลง เกิดการฟื้นตัวขึ้นช่วงสั้น หากราคาไม่สามารถสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันก่อนหน้าได้อย่างต่อเนื่อง อาจจะเกิดแรงขายสลับออกมาเพิ่ม ระยะสั้นประเมินแนวต้านระดับ 1,795-1,805ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวรับโซน1,777-1,770ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

แนะนำเปิดสถานะขายทำกำไรระยะสั้นบริเวณ 1,795-1,805ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนสถานะขายหากราคายืนเหนือ1,805ดอลลาร์ต่อออนซ์)แล้วเข้าซื้อคืนเพื่อทำกำไรเมื่อราคาอ่อนลงหรือไม่หลุดบริเวณแนวรับ 1,777-1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาหลุดแนวรับแรกให้รอดูบริเวณแนวรับถัดไปที่ 1,760 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อนค่า นลท.จับตาประชุมเฟด-ตัวเลขจ้างงานสหรัฐดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 พ.ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.25% แตะที่ 93.8817 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9092 ฟรังก์ จากระดับ 0.9154 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทีบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2370 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2373 ดอลลาร์แคนาดา อย่างไรก็ดี ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 113.98 เยน จากระดับ 113.91 เยน  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1605 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1560 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3657 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3690 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7518 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7525 ดอลลาร์สหรัฐ
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลง 0.5% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค.  อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 7.8% ในเดือนก.ย.
  • PMI ภาคการผลิตสหรัฐต่ำสุดรอบ 10 เดือนในต.ค.ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 58.4 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน จากระดับ 60.7 ในเดือนก.ย.  การร่วงลงของดัชนี PMI มีสาเหตุจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ชะลอตัว และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจร่วงลงต่ำสุดในรอบ 1 ปี แต่ยังได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงาน  อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ
  • ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐปรับตัวลงในเดือนต.ค.สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 60.8 ในเดือนต.ค. แต่ยังคงสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 60.5 หลังจากแตะระดับ 61.1 ในเดือนก.ย.
  • 65 หลังสหรัฐเผยเงินเฟ้อพุ่งนักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในกลางปีหน้า หลังจากที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในเดือนก.ย.  FedWatch Tool ของ CME Group ซึ่งวิเคราะห์การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดมีแนวโน้ม 50% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนมิ.ย.2565 เทียบกับตัวเลขคาดการณ์เพียง 15% ก่อนหน้านี้
  • 94.28 จุด ทำนิวไฮ รับแรงซื้อหุ้นพลังงานดัชนีดาวโจนส์, ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ตลาดหุ้นนิวยอร์กต่างก็ปิดทำนิวไฮเมื่อคืนนี้ (1 พ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานและหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในสัปดาห์นี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,913.84 จุด เพิ่มขึ้น 94.28 จุด หรือ +0.26% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,613.67 จุด เพิ่ม 8.29 จุด หรือ +0.18% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,595.92 จุด เพิ่มขึ้น 97.53 จุด หรือ + 0.63%
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ยืนยันว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังไม่อยู่ในสถานะ “ที่ร้อนแรงเกินไป” ดังที่หลายคนกังวล  แจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในวันจันทร์ว่า ตนไม่คิดว่า สภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั้นมีปัญหาร้อนแรงเกินไป และว่า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้นสูงขึ้นกว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุหลักมาจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทั้งนั้น ตามรายงานข่าวของ สำนักข่าว รอยเตอร์  ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นว่า อัตราการใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนกันยายน ขณะที่ อัตราการติดเชื้อโควิด-19 นั้นเริ่มลดลง พร้อมๆ กับความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัวได้ดีด้วย  รมว.เยลเลน เชื่อด้วยว่า ภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงขึ้นอยู่นี้เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น   นอกจากนั้น รมว.คลังสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ปัจจัยที่จำกัดอุปทานด้านแรงงานและปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ดำเนินอยู่นี้จะเริ่มคลี่คลายลง เมื่อภาวะระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้รับการควบคุมดีขึ้น

- Advertisement -

Comments
Loading...