GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 2 ธ.ค.64 by YLG

258

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรระยะสั้น โดยมีแนวรับบริเวณ 1,769-1,766 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดเข้าซื้อ และหากราคาขยับขึ้นควรแบ่งขายทำกำไรบ้างส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านโซน 1,793-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้าผ่านได้สามารถถือต่อ

แนวรับ : 1,766 1,751 1,732  แนวต้าน : 1,796 1,815 1,833

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  7.23ดอลลาร์ต่อออนซ์ ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนในกรอบ 1,793.79-1,771.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำยังคงได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย  ท่ามกลางความวิตกว่าการระบาดขอว COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอน  และการเร่งคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)อาจเป็นปัจจัยบั่นทอนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ  สถานการณ์ดังกล่างกระตุ้นแรงซื้อทองคำเมื่อราคามีการปรับตัวลดลง(Buy the dip)  ล่าสุด  สหรัฐยืนยันวานนี้ว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอนรายแรกในสหรัฐแล้ว  ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วง 461.68 จุดจนเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงราคาทองคำเอาไว้  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำกลับเผชิญแรงขายทำกำไรเมื่อราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบกรอบด้านบนเช่นกัน  โดยปัจจัยที่กดดันราคาทองคำเมื่อวานนี้  คือ การแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์  หลังจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ อาทิ  การจ้างงานของภาคเอกชนจาก ADP ที่เพิ่มขึ้น 534,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 506,000 ตำแหน่ง แและดัชนีภาคการผลิตจาก ISM  ที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 61.1 ในเดือนพ.ย. จากระดับ 60.8 ในเดือนต.ค. นอกจากนี้  นักลงทุนยังคงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เร็วกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจะเปิดทางให้เฟดสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วขึ้นกว่าเดิม  นั่นทำให้นักลงทุนทองคำมีการขายทำกำไรสลับออกมาเป็นระยะ  จนเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกราคาทองคำเอาไว้  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -2.03 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

- Advertisement -

จจัยทางเทคนิค :

ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่หลุด 1,769-1,766 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จะมีโอกาสดีดตัวขึ้นต่อ โดยหากยืนเหนือแนวต้านโซน 1,793-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ มีโอกาสที่ราคาจะขยับขึ้นทดสอบแนวต้านโซน 1,815 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากหลุดแนวรับแรก กรอบด้านล่างจะอยู่ที่ 1,751 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

แนะนำเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลง โดยอาจใช้บริเวณ 1,769-1,766ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตัดขาดทุนหากหลุด1,766 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขณะที่หากราคาดีดตัวขึ้นแนะนำทยอยแบ่งปิดสถานะซื้อทำกำไรตั้งแต่ราคา 1,793-1,796ดอลลาร์ต่อออนซ์เพื่อรอเข้าซื้อใหม่เมื่อราคาอ่อนตัว

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 461.68 จุด ตื่นข่าวสหรัฐพบโอไมครอนรายแรกดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลงกว่า 400 จุดเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกเกี่ยวกับข่าวการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรายแรกในสหรัฐ โดยหุ้นกลุ่มสายการบินและกลุ่มโรมแรมร่วงลงทันทีจากรายงานข่าวดังกล่าว  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,022.04 จุด ลดลง 461.68 จุด หรือ -1.34%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,513.04 จุด ลดลง 53.96 จุด หรือ -1.18% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,254.05 จุด ลดลง 283.64 จุด หรือ -1.83
  • (+) สหรัฐยืนยันพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรายแรก หลังเดินทางกลับจากแอฟริกาใต้.ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรายแรกในสหรัฐเมื่อวานนี้ (1 ธ.ค.) โดยผู้ติดเชื้อรายนี้เดินทางกลับจากแอฟริกาใต้ และได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์. เจ้าหน้าที่ CDC เปิดเผยว่า ชาวอเมริกันที่ติดเชื้อไวรัสโอไมครอนรายแรกนี้ได้เดินทางไปยังแอฟริกาใต้ และเดินทางกลับสู่สหรัฐเมื่อวันที่ 22 พ.ย. และมีผลตรวจเชื้อเป็นบวกใน 7 วันหลังจากนั้น
  • (+) WHO เตือนโอไมครอนระบาดหนัก หลังลาม 23 ประเทศทั่วโลก.นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ขณะนี้เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนได้แพร่ระบาดไปใน 23 ประเทศทั่วโลก และ WHO คาดการณ์ว่าจำนวนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีก. นายแพทย์ทีโดรสกล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญกำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน รวมทั้งอาการรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ บริษัทต่างๆก็กำลังทดลองวัคซีนและยาที่จะรับมือไวรัสดังกล่าว
  • (+) สหรัฐเผยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนต.ค.กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% หลังจากลดลง 0.1% ในเดือนก.ย.
  • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐต่ำสุดรอบ 11 เดือนในพ.ย.ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 58.3 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2563 จากระดับ 58.4 ในเดือนต.ค.
  • (+) OECD หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ จากพิษโควิด,เงินเฟ้อ.องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19, ภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเงินเฟ้อ  ทั้งนี้ OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 5.6% ในปีนี้ ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ 5.7% ในเดือนก.ย.  อย่างไรก็ดี OECD ยังคงตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2565 โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.5% ก่อนที่จะชะลอตัวสู่ระดับ 3.2% ในปี 2566  นอกจากนี้ OECD ยังได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคาดว่าจะขยายตัว 5.6% ในปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 6.0% และคาดว่าจะขยายตัว 3.7% ในปี 2565 จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 3.9% ก่อนที่จะขยายตัว 2.4% ในปี 2566
  • (-) ADP เผยการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐพุ่งเกินคาดในเดือนพ.ย. ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 534,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 506,000 ตำแหน่ง แต่ต่ำกว่าระดับ 570,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค.
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐสูงกว่าคาดในเดือนพ.ย.สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 61.1 ในเดือนพ.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 61.0 จากระดับ 60.8 ในเดือนต.ค.
  • (-) ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อย ตลาดจับตาผลกระทบไวรัสโอไมครอนดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน หลังสหรัฐยืนยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวในประเทศ นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ย.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพรุ่งนี้  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.02% แตะที่ 96.0316 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9204 ฟรังก์ จากระดับ 0.9187 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2812 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2786 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 112.80 เยน จากระดับ 113.10 เยน  ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1317 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1320 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3280 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3279 ดอลลาร์

- Advertisement -

Comments
Loading...