GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 2 ก.ย.64 by YLG

275

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เก็งกำไรระยะสั้น โดยอาจต้องพิจารณาโซน 1,801-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดซื้อ อย่างไรก็ตามหากราคาปรับตัวขึ้นไปไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านโซน 1,823-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อาจทยอยแบ่งขายทำกำไรตามแนวต้านต่างๆ

แนวรับ : 1,796 1,775 1,751  แนวต้าน : 1,833 1,849 1,864

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง  โดยตลอดทั้งวันแกว่งตัวในกรอบ 1,819.83-1,807.80  ดอลลาร์ต่อออนซ์  และยังคงมีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเป็นปัจจัยหลักที่ชี้นำทิศทางราคาทองคำในระยะสั้น  ทั้งนี้  ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปทดสอบกรอบด้านบน  ในทันทีที่ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 374,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. โดยต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 613,000 ตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงทดสอบระดับต่ำสุดในกว่า 3 สัปดาห์ครั้งใหม่  และเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำทดสอบกรอบด้านบน  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  โดยได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไร  ประกอบกับสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 59.9 ในเดือนส.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าดัชนีจะปรับตัวลงสู่ระดับ 58.6 หลังจากแตะระดับ 59.5 ในเดือนก.ค.  นั่นเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดของวัน  ก่อนที่จะมีแรงซื้อ Buy the dip เข้ามาพยุงราคาทองคำไว้  ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางของการอ่อนค่า  จึงเป็นอีกปัจจัยที่สกัดช่วงติดลบของราคาทองคำ  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วย, ประสิทธิภาพต้นทุนแรงงานต่อหน่วย และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐ  รวมถึงถ้อยแถลงของนายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา นางแมรี ดาลี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก

- Advertisement -

จจัยทางเทคนิค :

ราคาทองคำสามารถยืนเหนือโซน 1,801-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ขณะที่ในรายวันราคามีการยกระดับต่ำสุดและสูงสุดขึ้น โดยราคายังมีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านโซน 1,823-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามหากยืนไม่ได้ ยังคงต้องระวังแรงขายทำกำไรสลับเข้ามาเพิ่มเมื่อราคาปรับตัวขึ้น

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นเก็งกำไรระยะสั้น โดยเข้าซื้อโซนแนวรับ 1,801-1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,796 ดอลลาร์ต่อออนซ์) เมื่อราคาปรับตัวขึ้นให้แบ่งขายทำกำไรหากไม่ผ่านโซนแนวต้าน 1,823-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์  หากผ่านได้ชะลอการทำกำไรไปโซนแนวต้านถัดไปบริเวณ 1,849 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐต่ำสุดรอบ 4 เดือนในส.ค.ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 61.1 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 63.4 ในเดือนก.ค.
  • (+) สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสินเชื่อจำนองลดลงสัปดาห์ที่แล้ว แม้ดอกเบี้ยทรงตัวสมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง 2.4% ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจากราคาบ้านที่พุ่งขึ้น และสต็อกบ้านที่ตึงตัว แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองทรงตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้
  • (+) ADP เผยการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐต่ำกว่าคาดในเดือนส.ค.ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 374,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. โดยต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 613,000 ตำแหน่ง
  • (+) ดอลล์อ่อนค่า หลังจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐต่ำกว่าคาดดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 ก.ย.) หลังตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดการณ์ในเดือนส.ค. ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินต่อไป  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.20% แตะที่ 92.4530 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.92 เยน จากระดับ 110.00 เยน แต่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9151 ฟรังก์ จากระดับ 0.9149 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2615 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2607 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1845 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1812 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3779 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3757ดอลลาร์
  • (+) WHO ประกาศจับตาไวรัสสายพันธุ์ B.1.621 เตือนวัคซีนอาจเอาไม่อยู่องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงว่า WHO กำลังจับตาไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า “mu” หรือสายพันธุ์ B.1.621  WHO ระบุว่า ไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมีการกลายพันธุ์ในหลายตำแหน่ง ทำให้มีความสามารถในการหลบหลีกภูมิต้านทานของร่างกายที่สร้างขึ้นหลังการฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อโควิด-19  WHO ได้จัดให้ไวรัสสายพันธุ์ B.1.621 อยู่ในประเภทที่ “น่าจับตา” เมื่อวันที่ 30 ส.ค.
  • (+) ผู้เชี่ยวชาญเตือน! อินโดนีเซีย-ไทย ผ่อนมาตรการโควิด เสี่ยงยอดกลับพุ่งสูง ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเตือน ยอดผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสในไทยและอินโดนีเซียอาจกลับมาพุ่งขึ้นสูงได้อีกครั้งจากการเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนยังอยู่ในระดับต่ำ ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์  ในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นศูนย์กลางการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา สวนทางกับสถานการณ์เมื่อปีที่แล้วที่มีการควบคุมการระบาดได้ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ  แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ยังคงมียอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูง แต่อินโดนีเซียและไทย ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการนั่งรับประทานอาหารในร้านและห้างสรรพสินค้าเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ  เมื่อวันอังคาร อินโดนีเซียมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 10,534 คน ซึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่ายอดผู้ติดเชื้อช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงห้าเท่า ในขณะที่ไทยมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 14,802 คนเมื่อวันพุธ ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าช่วงที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 37 เปอร์เซ็นต์  อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การผ่อนคลายมาตรการนี้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เนื่องจากทั้งสองประเทศมีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำและการตรวจเชื้อไวรัสที่ไม่ทั่วถึง โดยมีอัตราของผู้ที่ตรวจพบเชื้อไวรัสสูงกว่าอัตราที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะนำ 5 เปอร์เซ็นต์ โดนอินโดนีเซียมีอัตราผู้ตรวจพบเชื้อไวรัสที่ 12 เปอร์เซ็นต์ และไทยอยู่ที่ 34 เปอร์เซ็นต์
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐปรับตัวขึ้นในเดือนส.ค. สวนทางคาดการณ์  สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 59.9 ในเดือนส.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าดัชนีจะปรับตัวลงสู่ระดับ 58.6
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดลบ 48.20 จุดหลังหุ้นพลังงานร่วง, Nasdaq ทำนิวไฮรับแรงซื้อหุ้นเทคโนฯดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (1 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดทำนิวไฮ โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินต่อไป หลังตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดการณ์  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,312.53 จุด ลดลง 48.20 จุด หรือ -0.14% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,524.09 จุด เพิ่มขึ้น 1.41 จุด หรือ +0.03% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,309.38 จุด เพิ่มขึ้น 50.15 จุด หรือ +0.33%

- Advertisement -

Comments
Loading...