GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 18 ม.ค.65 by HGF

504

- Advertisement -

โดย  : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)

ทองปิดลบ จากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า

คืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์กเดือนม.ค.

แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดเคลื่อนไหว Sideways

  • ราคาทองคำ Spot เมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวลงเล็กน้อย โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ยังไม่มีปัจจัยใหม่ ซึ่งนักลงทุนซึมซับการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐในเดือนมี.ค. ประกอบกับตลาดการเงินสหรัฐปิดทำการในวันจันทร์เนื่องด้วยวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์  ทางด้านกองทุน SPDR Gold Trust ถือครองทองคำสุทธิเท่าเดิมจากเมื่อวาน
  • คืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์กเดือนม.ค. ตลาดคาดว่าจะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 25.0 จากระดับ 31.9
  • แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1,810-1,830 ดอลลาร์ โดยมีแนวต้าน 1,830 ดอลลาร์ และ 1,840 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวรับที่ 1,810 ดอลลาร์ และ 1,800 ดอลลาร์

ราคาทองตลาดโลก

Closechg.SupportResistance
1,818.53+1.831,810/1,8001,830/1,840

ราคาทองแท่ง 96.5%

Closechg.SupportResistance
28,550-15028,400/28,30028,750/28,950

โกลด์ฟิวเจอร์ส

ClosechgSupportResistance
28,590-5028,460/28,30028,800/28,960

- Advertisement -

แนะนำเข้าซื้อเมื่อราคาทอง Spot ปรับลงมาที่ 1,800 ดอลลาร์ (GF 28,300 บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,790 ดอลลาร์ (GF 28,220 บาท)

โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์

ClosechgSupportResistance
1,822.00-1.401,812/1,8021,832/1,842

แนะนำเข้าซื้อเมื่อราคา GOH22 ปรับลงมาที่ 1,802 ดอลลาร์ โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,792 ดอลลาร์

ค่าเงิน

ทิศทางค่าเงินบาทเมื่อวานนี้แข็งค่าต่อเนื่องจากวัปดาห์ก่อน ซึ่งค่าเงินบาทแข็งค่าไปกว่า 1.65% จากระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ ในขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาทระยะสั้นคาดแข็งค่าได้ต่อ สำหรับ USD Futures เดือนมี.ค.65 คาดจะมีแนวรับที่ 32.70  บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 33.35 บาท/ดอลลาร์

News

มูดี้ส์คาดนโยบาย Zero-Covid ของจีนส่งผลกระทบซ้ำเติมปัญหาห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

          คาทรีน่า เอลล์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของมูดี้ส์ อนาไลติกส์ แสดงความคิดเห็นว่า ปัญหาติดขัดในห่วงโซ่อุปทานที่ยังคงมีอยู่นั้น มีสาเหตุหลักมาจากการที่จีนใช้นโยบายรักษาจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดให้เป็นศูนย์หรือ Zero-Covid โดยปัจจุบันปัญหาคอขวดฝั่งอุปทานได้ดำเนินมายาวนานถึงหนึ่งปีแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ปัญหาดังกล่าวจะเริ่มคลี่คลายลงในช่วงต้นปีนี้    “การผลิตวัสดุต่าง ๆ จะเริ่มสร้างแรงกดดันขาลงต่อราคาผู้ผลิตและราคาปัจจัยการผลิต แต่นโยบาย Zero-Covid ของจีนที่ทำให้มีการปิดท่าเรือและโรงงานที่สำคัญอยู่บ่อยครั้ง ก็จะยังสร้างปัญหาติดขัดในส่วนนี้อยู่” เอลล์เผยกับผู้สื่อข่าวของในรายการ “Squawk Box Asia” ของสถานีโทรทัศน์ CNBC พร้อมกับเสริมว่า ปัจจัยนี้จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบัน  เอลล์ระบุว่า นโยบาย Zero-Covid ของจีนนั้นเพิ่มความเสี่ยงขาลงให้กับห่วงโซ่อุปทานที่เริ่มฟื้นตัวตามการผลิตวัสดุ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงอิทธิพลและความสำคัญของเศรษฐกิจจีนในเวทีโลก โดยเธอคาดว่า อัตราเงินเฟ้อและท่าทีของธนาคารกลางต่าง ๆ จะมีผลต่อตลาดอย่างมากในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ สำนักข่าว CNBC รายงานว่า รัฐบาลจีนได้ใช้นโยบาย Zero-Covid ตั้งแต่ที่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดเมื่อต้นปี 2563 โดยมีการบังคับกักตัวและจำกัดการเดินทางอย่างเคร่งครัดเพื่อสกัดการแพร่ระบาด ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางภายในเมืองเดียวกันหรือออกนอกประเทศ    มาตรการควบคุมโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่งทั่วโลก และยังได้ทำให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังเกิดความวิตกกังวลด้วยว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายได้ง่ายจะก่อความเสียหายซ้ำเติมภาคการขนส่งอีกครั้ง

แพทย์สหรัฐชี้ โอมิครอนทำบุคลากรโรงพยาบาลขาดแคลน ผู้ป่วยเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่ม

          ดร.ซามีร์ คาดรี แพทย์ประจำศูนย์คลินิกสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐกล่าวว่า โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นสถานที่อันตราย เนื่องจากทำให้มีผู้ป่วยล้นจนเกิดวิกฤตขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์   “ความแออัดฆ่าคนได้จริง” ดร.คาดรีกล่าว  ดร.คาดรีเป็นหัวหน้านักวิจัยในงานวิจัยชิ้นสำคัญในช่วงแรก ๆ ของการระบาดที่พบว่า ผู้ป่วยโควิดมีความเสี่ยงจะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อโรงพยาบาลมีผู้ป่วยจำนวนมากจนทำให้เจ้าหน้าที่รับภาระหนัก โดย 1 ใน 4 ของการเสียชีวิตทั้งหมดอาจมีสาเหตุมาจากจำนวนผู้ป่วยที่พุ่งขึ้นดังกล่าว   ดร.คาดรีกล่าวว่าแม้กระทั่งกับสายพันธุ์โอมิครอน “เมื่อถึงจุดหนึ่ง ความแออัดจะกลายเป็นเรื่องของปริมาณล้วน ๆ และเมื่อมีปริมาณผู้ป่วยสูงมาก ความแออัดก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นโควิดสายพันธุ์ไหนก็ตาม”  

แบงก์ชาติจีนประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.10% ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2564

          ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภท 1 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลง 0.10% สู่ระดับ 2.85% ใน ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2564 นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินจำนวน 2 แสนล้านหยวน (3.15 หมื่นล้านดอลลาร์)     การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีขึ้นไม่นานหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานใว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 4/2564 ของจีนขยายตัวเพียง 4% เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีได้ถูกกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน   โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2565 ลงสู่ระดับ 4.3% จากเดิมที่ระดับ 4.8% โดยระบุว่ารัฐบาลจีนกำลังเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้นในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

- Advertisement -

Comments
Loading...