GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 17 พ.ย.64 by YLG

320

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรในกรอบจากการแกว่งตัว หากราคายังไม่ผ่านโซน 1,870-1,877 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รอเปิดสถานะซื้อในบริเวณ 1,848-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

แนวรับ : 1,848 1,833 1,823  แนวต้าน : 1,877 1,889 1,900

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 12.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์แม้ว่าในระหว่างวันแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อจะผลักดันให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนบริเวณ 1,877.01  ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้  ส่วนหนึ่งเพราะทองคำได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิค  นอกจากนี้ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาดทุกรายการ  ไม่ว่าจะเป็นยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 1.7% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4%, การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนต.ค.และดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านที่ดีดตัวขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 83 ในเดือนต.ค.ซึ่งส่งผลให้หนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ16เดือน พร้อมกับหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับ 1.63% จนส่งผลกดดันราคาทองคำ  ประกอบกับเมื่อคืนนี้มีเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จำนวนหนึ่งออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อครัวเรือนของสหรัฐ รวมไปถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและแสดงความต้องการที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ  สถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงเกือบ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับสูงสุดในระหว่างวัน  สู่ระดับต่ำสุดบริเวณ 1,848.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการอนุญาตก่อสร้าง และข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านของสหรัฐ  รวมถึงถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด

จจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำไม่สามารถขึ้นไปยืนเหนือ 1,870-1,877 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้มีราคาอาจแกว่งตัวออกด้านข้างทั้งนี้ประเมินแนวรับบริเวณ 1,848-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามในโซน 1,870-1,877 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาผ่านได้การเคลื่อนไหวในราคาอาจปรับตัวขึ้นต่อทดสอบแนวต้านถัดไปโซน 1,889 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นทำกำไรระยะสั้นโดยเปิดสถานะซื้อ หากราคาไม่หลุด 1,848-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพื่อหวังขายทำกำไรหากราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านโซน 1,870-1,877 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามควรลดสถานะซื้อลงหากราคาหลุด 1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) บิตคอยน์หลุด $60,000 ต่ำกว่า 2,000,000 บาท ผวาสหรัฐรีดภาษีคริปโตบิตคอยน์ทรุดตัวหลุดระดับ 60,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. โดยปรับตัวลงต่ำกว่า 2,000,000 บาท ขณะที่นักลงทุนกังวลว่าสหรัฐอาจเรียกเก็บภาษีสกุลเงินคริปโต  ทั้งนี้ บิตคอยน์ดิ่งลงสู่ระดับ 58,600 ดอลลาร์ในวันนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 20 วัน และดิ่งลง 14% จากระดับ 69,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  การทรุดตัวของบิตคอยน์ในวันนี้ถือว่าหนักที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. โดยได้รับผลกระทบจากการที่นักลงทุนกังวลว่าสหรัฐจะทำการตรวจสอบการทำธุรกรรมและเรียกเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโต หลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนามในกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานวงเงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์วานนี้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหากำหนดให้โบรกเกอร์หรือแพลตฟอร์มที่ซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลต้องรายงานต่อกรมสรรพากรสหรัฐ (IRS) เกี่ยวกับการทำธุรกรรมใดๆของลูกค้าที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ดอลลาร์
  • (-) ดอลล์แข็งค่า ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐแกร่งเกินคาดดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 พ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกเดือนต.ค.ที่ขยายตัวได้ดีเกินคาด  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.53% แตะที่ 95.9182 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 114.69 เยน จากระดับ 114.08 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9310 ฟรังก์ จากระดับ 0.9246 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2559 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2510 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1316 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1385 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3428 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3427 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7301 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7350 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ดาวโจนส์ปิดบวก 54.77 จุด รับข้อมูลศก.สหรัฐแข็งแกร่งดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (16 พ.ย.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกประจำเดือนต.ค. รวมทั้งรายงานผลประกอบการที่สดใสของบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ เช่นวอลมาร์ท และโฮม ดีโปท์  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,142.22 จุด เพิ่มขึ้น 54.77 จุด หรือ +0.15%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,700.90 จุด เพิ่มขึ้น 18.10 จุด หรือ +0.39% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,973.86 จุด เพิ่มขึ้น 120.01 จุด หรือ + 0.76%
  • (-) เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนต.ค.ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนต.ค. หลังจากร่วงลง 1.3% ในเดือนก.ย.  ทั้งนี้ ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวม เป็นการวัดการปรับตัวของภาคโรงงาน, เหมืองแร่ และสาธารณูปโภค
  • (-) สหรัฐเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสูงกว่าคาดในเดือนต.ค.สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านดีดตัวขึ้น 3 จุด สู่ระดับ 83 ในเดือนต.ค. โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในตลาด  นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 80 ในเดือนต.ค.
  • (-) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกพุ่งเกินคาดในเดือนต.ค.กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 1.7% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนก.ย.  ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นในเดือนต.ค. ได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น และยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนส่วนยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร พุ่งขึ้น 1.6% ในเดือนต.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.ย.
  • (+/-) สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.7%สอดคล้องคาดการณ์กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากดีดตัวขึ้น 0.8% ในเดือนส.ค.

- Advertisement -

Comments
Loading...