GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 16 มิ.ย.65 by YLG

438

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

เก็งกำไรระยะสั้น โดยพิจารณาแนวรับโซน 1,818-1,804 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นจุดซื้อ อย่างไรก็ตาม หากราคาปรับตัวขึ้นและไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านโซน 1,842 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจเลือกปิดสถานะซื้อทำกำไร

แนวรับ : 1,818 1,804 1,778  แนวต้าน : 1,836 1,855 1,786

ปัจจัยพื้นฐาน

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 24.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในช่วงต้นราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ “แย่เกินคาด” อาทิ ยอดค้าปลีกที่ลดลงเกินคาดในเดือนพ.ค. รวมถึงดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ที่ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าคาด

นอกจากนี้ ราคาทองคำยังแกว่งตัวผันผวน หลังธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) มีมติ “ขึ้น” อัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 1.5-1.75% ตามคาด ซึ่งเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงในช่วงต้น ก่อนที่จะดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งโดยได้รับแรงหนุนจาก (1.) Economic Projections สะท้อนมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจ หลังเฟดปรับ “ลด” คาดการณ์ GDP ปี 2022 และ 2023 สู่ระดับ 1.7% และ 1.7% ตามลำดับ พร้อม “เพิ่ม” คาดการณ์อัตราการว่างงานปี 2022 และ 2023 สู่ระดับ 3.7% และ 3.9% ตามลำดับ (2.) Dot Plot เดือนมิ.ย. 2022 บ่งชี้ค่ากลาง (Median) ของการคาดการณ์ดอกเบี้ยปี 2022 และ 2023 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.4% และ 3.8% ตามลำดับ

ซึ่งถึงแม้จะ Hawkish กว่า Dot plot เดือนมี.ค. แต่ก็สอดคล้องกับการคาดการณ์ส่วนใหญ่ของตลาด (3.) นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปที่ 0.50% หรือ 0.75% “แต่เขาไม่คิดว่าการขึ้นดอกเบี้ย 0.75% จะกลายเป็นเรื่องปกติ” สถานการณ์ดังกล่าวกดดันดัชนีดอลลาร์ให้ร่วงลงจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่ธ.ค. 2002 ที่ 105.79 ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงเช่นกัน จนเป็นปัจจัยหนุนให้ทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,841.28 ดอลลาร์ต่อออนซ์

- Advertisement -

ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี) และการเปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจากเฟดฟิลาเดลเฟีย, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน, การอนุญาตก่อสร้างและข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน

จจัยทางเทคนิค

แนวต้าน 1,842 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นระดับสูงสุดวานนี้ เมื่อราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หากแรงขายทำกำไรสลับออกมาเพิ่มขึ้นหรือราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านได้ มีผลให้ราคาปรับตัวลงเพื่อสะสมแรงซื้ออีกครั้ง เบื้องต้นหากการอ่อนตัวลงจำกัดสามารถรักษาระดับไว้ได้ ราคามีโอกาสเกิดแรงซื้อกลับเข้ามาเพิ่ม ทั้งนี้ ประเมินแนวรับระยะสั้นโซน 1,818-1,804 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน

เน้นการซื้อขายทำกำไรระยะสั้น โดยอาจใช้บริเวณ 1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดเสี่ยงซื้อ หากหลุดให้ชะลอการเข้าซื้อไปยังโซนแนวรับถัดไป 1,804 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาหลุด1,804 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ขณะที่หากราคาดีดตัวขึ้นแนะนำทยอยแบ่งปิดสถานะทำกำไรตั้งแต่ราคา 1,842 ดอลลาร์ต่อออนซ์แต่ถ้าผ่านได้สามารถถือสถานะซื้อต่อ

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนเม.ย. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนเม.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากดีดตัวขึ้น 2.4% ในเดือนมี.ค.
  • (+) เฟดนิวยอร์คเผยดัชนีภาคการผลิตปรับตัวขึ้นในเดือนมิ.ย.  ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ปรับตัวขึ้นในเดือนมิ.ย.  ทั้งนี้ เฟดสาขานิวยอร์ก รายงานว่า ดัชนีภาคการผลิตปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -1.2 ในเดือนมิ.ย. แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0 จากระดับ -11.9 ในเดือนพ.ค.
  • (+) สหรัฐเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านร่วงลงเป็นเดือนที่ 6   สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านลดลง 2 จุด สู่ระดับ 67 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6
  • (+) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกลดลง 0.3% ในเดือนพ.ค. สวนทางคาดการณ์  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกลดลง 0.3% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนเม.ย.
  • (+) ดอลลาร์อ่อนค่า หลังเฟดหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (15 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.37% แตะที่ 105.1630  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 134.09 เยน จากระดับ 135.32 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9984 ฟรังก์ จากระดับ 1.0030 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2928 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2966 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0424 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0414 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2124 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1973 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6978 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6864 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 303.70 จุด หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุดในวันพุธ (15 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเฟดในการควบคุมเงินเฟ้อโดยไม่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,668.53 จุด พุ่งขึ้น 303.70 จุด หรือ +1.00%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,789.99 จุด เพิ่มขึ้น 54.51 จุด หรือ +1.46% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,099.15 จุด พุ่งขึ้น 270.81 จุด หรือ +2.50%
  • (+/-) “พาวเวล” ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% เดือนหน้า  นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงิน โดยกล่าวว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ในการประชุมเดือนก.ค. หลังจากที่ได้ปรับขึ้นไปแล้ว 0.75% ในการประชุมครั้งล่าสุด  “เมื่อพิจารณาจากมุมมองในขณะนี้ ผมคิดว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% หรือ 0.75% ในการประชุมเดือนก.ค. ซึ่งเรามองว่าเป็นการปรับขึ้นในระดับที่เหมาะสม ส่วนการที่เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมครั้งล่าสุดนี้ แน่นอนว่าเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ แต่ผมไม่คิดว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงถึง 0.75% จะกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับเฟด” นายพาวเวลกล่าว
  • (+/-) *เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด ส่งสัญญาณขึ้นอีก 1.75% ในปีนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมวันนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 28 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2537  คณะกรรมการ FOMC ทุกรายเห็นชอบต่อมติดังกล่าว ยกเว้นนางเอสเธอร์ จอร์จ ประธานเฟดสาขาแคนซัส ซิตี้ ซึ่งสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.50%  นอกจากนี้ ในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะแตะระดับ 3.4% ในช่วงสิ้นปีนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1.75% ภายในปีนี้ และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.8% ในสิ้นปี 2566 และชะลอตัวสู่ระดับ 3.4% ในปี 2567 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ที่ 2.5%  แถลงการณ์ของเฟดยังระบุว่า เฟดจะทำการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) ในวงเงิน 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน หลังจากที่ได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. และนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. เฟดจะเพิ่มวงเงินในการลดขนาดงบดุลเป็น 2 เท่า สู่ระดับ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน  ขณะเดียวกัน เฟดได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ สู่ระดับ 1.7% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.8% ในเดือนมี.ค. และคาดว่าจะขยายตัว 1.7% ในปี 2566  นอกจากนี้ เฟดคาดว่าเงินเฟ้อจะพุ่งแตะระดับ 5.2% ในสิ้นปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 4.3% และจะชะลอตัวสู่ระดับ 2.6% และ 2.2% ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ

- Advertisement -

Comments
Loading...