GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 15 ธ.ค.65 by YLG

418

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

เน้นเก็งกำไรในกรอบจากการแกว่งตัว ราคาอาจขึ้นไปทดสอบแนวต้านโซนที่ 1,813-1,824 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนไม่ได้อาจเกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมาเพิ่ม เมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงจะมีแนวรับบริเวณ 1,790-1,783 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,783 1,765 1,747  แนวต้าน : 1,824 1,842 1,860

ปัจจัยพื้นฐาน

ราคาทองคำวานนี้ปิดลดลง 3.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่เฟดมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 50 bps สู่ระดับ 4.25-4.50% ตามคาด ขณะที่ ค่ากลาง (Median) ของการคาดการณ์ดอกเบี้ยในปี 2023 และ Terminal Rate ของวงจรการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ “เพิ่มขึ้น” สู่ระดับ 5.1% จากระดับ 4.6% ใน Dot plot เดือนก.ย. สะท้อนว่าเฟดจะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ส่วนนายพาวเวลล์ ประธานเฟดย้ำชัดว่า เฟดมีความจำเป็นที่จะต้อง “คง” อัตราดอกเบี้ยไว้ที่จุดสูงสุดจนกว่าเฟดจะมั่นใจจริงๆว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงอย่างยั่งยืน โดยไม่รีบร้อนผ่อนคลายนโยบายการเงินก่อนเวลาอันควร ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,796.63 ดอลลาร์ต่อออนซ์

- Advertisement -

ก่อนที่ดัชนีดอลลาร์จะกลับมาอ่อนค่า เนื่องจาก Economic Projections สะท้อนว่าเฟด “ลด” คาดการณ์ GDP ปี 2023 และ 2024 สู่ระดับ 0.5% และ 1.6% ตามลำดับ จากระดับ 1.2% และ 1.7% ในการคาดการณ์เดือนก.ย. พร้อม“เพิ่ม” คาดการณ์อัตราการว่างงานปี 2023 และ 2024 สู่ระดับ 4.6% และ 4.6% จากระดับ 4.4% และ 4.4% ในการคาดการณ์เดือนก.ย. ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดมีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจมากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวช่วยพยุงราคาทองคำเอาไว้ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.16 ตัน สำหรับวันนี้จับตาผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) และผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(BoE) รวมถึงติดตามการเปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจ จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน, ยอดค้าปลีก และดัชนีภาวะธุรกิจ Empire State Index ของสหรัฐ

จจัยทางเทคนิค

ระยะสั้นราคาอาจกลับมาแกว่งตัวในกรอบ Sideway UP หากราคาทองคำยังไม่สามารถยืนเหนือ 1,813-1,824 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ส่งผลให้แรงซื้อยังคงถูกจำกัด สำหรับวันนี้ประเมินแนวรับระยะสั้นในโซน 1,790-1,783 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนไม่ได้จะมีแนวรับถัดไปในโซน 1,765 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน

เน้นการทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยการเปิดสถานะขายในโซน 1,813-1,824 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาผ่าน 1,824 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ขณะที่จุดปิดสถานะขายทำกำไรประเมินในในบริเวณแนวรับโซน 1,783-1,765 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) ดอลล์อ่อนค่า หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ตามคาด  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (14 ธ.ค.) หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.21% แตะที่ระดับ 103.7700  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 135.34 เยน จากระดับ 135.49 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9244 ฟรังก์ จากระดับ 0.9287 ฟรังก์  นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3551 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3557 ดอลลาร์แคนาดา และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดน ที่ระดับ 10.1902 โครนา จากระดับ 10.2114 โครนา  ส่วนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 1.0669 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0639 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.2400 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2374 ดอลลาร์
  • (-) “พาวเวล” ส่งสัญญาณเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ยันตรึงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%  นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยกับสื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินในวันพุธ (14 ธ.ค.) โดยระบุว่า เฟดจะไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% และขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเฟดให้ความสำคัญกับการใช้นโยบายการเงินที่มีการคุมเข้มมากพอที่จะฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายดังกล่าว  “ไม่ว่าเราจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ใดก็ตาม เราจะไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% เราจะใช้เครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายที่ระดับดังกล่าว” นายพาวเวลกล่าวเมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าเฟดจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับสูงกว่า 2% หรือไม่  “สิ่งที่เราให้ความสำคัญในเวลานี้ก็คือ การใช้นโยบายการเงินที่มีการคุมเข้มมากพอที่จะฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายของเราที่ระดับ 2% ให้ได้ และจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้” นายพาวเวลกล่าว 
  • (+/-) เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ตามคาด แต่ส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นในปี 66  คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี  การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ โดยเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 7 ในปีนี้ ซึ่งเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 1 ครั้ง, 0.50% จำนวน 2 ครั้ง และ 0.75% จำนวน 4 ครั้ง ส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 4.25% ในปีนี้  ในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปี 2566 และจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2567 โดยเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสู่ระดับ 5.1% ในปีหน้า ก่อนที่จะสิ้นสุดวัฏจักรปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยระดับดังกล่าวเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2550  หลังจากที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 5.1% ในปี 2566 หรือเทียบเท่ากับช่วงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย 5.00-5.25% เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อจับตาดูผลกระทบของการคุมเข้มนโยบายการเงินที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ   นอกจากนี้ เฟดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจำนวน 1.0% ในปี 2567 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลงสู่ระดับ 4.1% ในช่วงสิ้นปีดังกล่าว และเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1.0% ในปี 2568 สู่ระดับ 3.1% ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะปรับตัวสู่ระดับ 2.5%

- Advertisement -

Comments
Loading...