GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 14 มิ.ย.65 by YLG

457

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

เน้นทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว เนื่องจากราคายังคงผันผวน แนะนำเปิดสถานะขายบริเวณ 1,836-1,855 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาผ่าน 1,855 ดอลลาร์ต่อออนซ์) พิจารณาซื้อคืนเพื่อหวังทำกำไรช่วงสั้นหากราคาไม่หลุดแนวรับ 1,811-1,786 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,811 1,786 1,778  แนวต้าน : 1,836 1,855 1,879

ปัจจัยพื้นฐาน

ราคาทองคำวานนี้ปิดดิ่งลง 52.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากแรงขายกำไรและแรงขายทางเทคนิค หลังจากราคาทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,878.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมกับเกิดภาวะซื้อมากเกินไป(Overbought) และเกิดสัญญาณที่บ่งชี้ว่าแรงซื้อชะลอตัวลง

แต่ปัจจัยหลักที่กดดันทองคำในแง่ปัจจัยพื้นฐาน คือ การคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุมนโยบายการเงินที่กำลังจะเสร็จสิ้นลงในช่วงกลางสัปดาห์นี้ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาดในวันศุกร์ที่แล้ว สะท้อนจาก FedWatch Tool ของ CME Group ที่บ่งชี้ว่า

ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนักกว่า 90% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย. เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่ให้น้ำหนักเพียง 5% เท่านั้น สอดคล้องกับความเห็นของนักวิเคราะห์จากธนาคารระดับโลกหลายแห่ง อาทิ Goldman Sachs ที่คาดว่าแฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ทั้งในการประชุมนโยบายการเงินเดือนมิ.ย.และก.ค. ก่อนที่จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 50 bps ในเดือนก.ย. ส่วน BNY Mellon และ Barclays คาดการณ์เช่นกันว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย75 bps ในการประชุมสัปดาห์นี้

การคาดการณ์ดังกล่าวถือว่า Hawkish กว่าการคาดการณ์ก่อนหน้าอย่างมาก ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.87% ทะลุ 105 แตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ 105.29 จนเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ราคาทองคำดิ่งลงทดสอบระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ 1,811.31 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้าของวันนี้ในตลาดเอเชีย ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผย ดัชนีภาวะธุรกิจขนาดเล็กจาก NFIB และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)ของสหรัฐ

จจัยทางเทคนิค

- Advertisement -

หากราคาทองคำทดสอบแนวต้านที่ 1,829-1,839 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ยังไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเมื่อราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นยังคงมีแรงขายออกมาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำแกว่งตัวผันผวน โดยอ่อนตัวลงมาแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งประเมินแนวรับระยะสั้นในโซน 1,811-1,786 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (1,786 ระดับต่ำสุดของเดือนพ.ค.)

กลยุทธ์การลงทุน

แนะนำเปิดสถานะขายทำกำไรทำกำไรจากการแกว่งตัว หากราคาไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,836-1,855 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพื่อรอเข้าซื้อคืนเมื่อราคาอ่อนตัวลงสามารถยืนเหนือโซน 1,811-1,786 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยสถานะขายตัดขาดทุนหากราคาผ่าน 1,855 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน

• (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 876.05 จุด กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยฉุดศก.ถดถอย ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,516.74 จุด ร่วงลง 876.05 จุด หรือ -2.79%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,749.63 จุด ลดลง 151.23 จุด หรือ -3.88% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,809.23 จุด ดิ่งลง 530.80 จุด หรือ -4.68%

• (+) ตลาดบอนด์สหรัฐเกิด inverted yield curve ส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย ตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve ในวันนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีดีดตัวสูงกว่าอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าธนากลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 5 ปีได้ดีดตัวสูงกว่าอายุ 10 ปีและ 30 ปีในวันนี้ ณ เวลา 18.08 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี พุ่งขึ้นสู่ระดับ 3.39% โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรดังกล่าวสูงกว่าพันธบัตรอายุ 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ระดับ 3.25% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี อยู่ระดับ 3.263%

• (+) มาร์เก็ตแคปคริปโทฯวูบกว่า 2 แสนล้านดอลล์ต่ำสุดรอบกว่า 1 ปี มูลค่าตลาดของสกุลเงินดิจิทัลทั่วโลกวูบหายไปกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ในวันนี้ ท่ามกลางความกังวลต่อการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) ซึ่งจะฉุดสภาพคล่องในตลาด

• (+) บิตคอยน์ร่วงต่ำกว่า $24,000 ใกล้หลุด 800,000 บาท ผวาเฟดขึ้นดอกเบี้ย บิตคอยน์ร่วงลงต่ำกว่าระดับ 24,000 ดอลลาร์แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2563 ใกล้หลุด 800,000 บาทในวันนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาด ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้เพื่อสกัดเงินเฟ้อ นักลงทุนกังวลว่าการที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและปรับลดขนาดงบดุลจะฉุดสภาพคล่องในตลาด และส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญภาวะถดถอย

• (-) นักวิเคราะห์ฟันธงเฟดช็อกตลาดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% พุธนี้ นักวิเคราะห์จากหลายสำนักต่างคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 14-15 มิ.ย. ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ “การพุ่งขึ้นของดัชนี CPI พื้นฐานจะทำให้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในสัปดาห์นี้ และยืดเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ยาวถึงฤดูใบไม้ร่วง” นักวิเคราะห์จากแคปิตอล อิโคโนมิกส์ ระบุในรายงาน นักวิเคราะห์จากบาร์เคลยส์และเจฟเฟอรีส์คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมสัปดาห์นี้เช่นกัน “เราคิดว่าเฟดจะสร้างความประหลาดใจต่อตลาดเพื่อเรียกความเชื่อมั่นในการจัดการกับเงินเฟ้อ” รายงานจากบาร์เคลยส์ระบุ ส่วนนักวิเคราะห์จากบีเอ็นวาย เมลลอนคาดว่าเฟดจะจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมสัปดาห์นี้ จากเดิมที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.50% “ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.ได้สร้างความกังวลอย่างมากจนทำให้เฟดจะต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย” รายงานจากบีเอ็นวาย เมลลอน ระบุ ส่วนนักวิเคราะห์จาก Swissquote Bank ระบุว่า “ขณะนี้เฟดมีโอกาสมากกว่า 50% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ค. และมีโอกาส 14% ที่จะปรับขึ้นถึง 1.00% นี่เป็นสิ่งที่เฟดจะดำเนินการหลังการประกาศตัวเลข CPI เมื่อวันศุกร์”

• (-) เฟดเผยผลสำรวจชี้ผู้บริโภคสหรัฐคาดเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นช่วง 1 ปีข้างหน้า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยผลสำรวจคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐประจำเดือนพ.ค. พบว่า ภาคครัวเรือนสหรัฐคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างจาก 1,300 ครัวเรือนพบว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะสั้นสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้าปรับตัวขึ้น 0.3% สู่ระดับ 6.6% ส่วนตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะกลางสำหรับช่วง 3 ปีข้างหน้าทรงตัวที่ระดับ 3.9%

• (-) ดอลลาร์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงถึง 0.75% หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งสูงกว่าคาด ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน พุ่งขึ้น 0.89% แตะที่ 105.0730 ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9975 ฟรังก์ จากระดับ 0.9881 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2880 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2755 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 134.29 เยน จากระดับ 134.37 เยน ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0426 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0525 ดอลลาร์

- Advertisement -

Comments
Loading...