GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 14 ก.ย.64 by YLG

373

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรจากการแกว่งตัว โดยเปิดสถานะขายที่แนวต้านบริเวณ 1,800-1,802 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และหากราคาขยับลงควรแบ่งปิดสถานะขายเพื่อทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่หลุดแนวรับโซน 1,782-1,775 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้าหลุดสามารถถือสถานะขายต่อ

แนวรับ : 1,775 1,757 1,740  แนวต้าน : 1,802 1,816 1,833

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.78 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แม้ว่าในระหว่างวันราคาทองคำจะได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์จากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะเดินหน้าปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินภายในปีนี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,784.40  ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำฟื้นตัวในเวลาต่อมา  โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อ Buy the dip  ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และปิดตลาดด้วยการอ่อนค่าลง -0.02% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ10ปีร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดที่1.314%ก่อนที่สหรัฐจะเผยข้อมูลเงินเฟ้อของผู้บริโภคในวันนี้โดยนักลงทุนมีการปรับสถานะการลงทุนในดอลลาร์และพันธบัตรเพื่อรอดูทิศทางอัตราเงินเฟ้อเพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด  ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,798.22 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +2.04 ตัน  สู่ระดับ 1,000.21 ตัน  ซึ่งเป็นการถือครองทองคำเพิ่มเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)ของสหรัฐ  ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาทองคำในช่วงประกาศตัวเลขเคลื่อนไหวผันผวนได้

จจัยทางเทคนิค :

ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่ผ่าน1,800-1,802 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จะมีโอกาสเกิดแรงขายกลับมากดดันราคาเพิ่ม อาจเห็นการอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับระดับ 1,782-1,775 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากสามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้อาจจะเกิดแรงซื้อสลับเข้ามาพยุงราคาไว้

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นทำกำไรระยะสั้นโดยเปิดสถานะขาย โดยใช้บริเวณ 1,800-1,802 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตัดขาดทุนหากผ่าน1,816 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่หากราคาอ่อนตัวลงแนะนำทยอยแบ่งปิดสถานะขายทำกำไรตั้งแต่ราคา 1,782-1,775 ดอลลาร์ต่อออนซ์เพื่อรอเข้าซื้อใหม่เมื่อราคาอ่อนตัวแต่ถ้าหลุดได้สามารถถือสถานะขายต่อ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) “วอลมาร์ท” โต้เฟคนิวส์ ยันไม่มีการรับ litecoinชำระค่าสินค้าวอลมาร์ท อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกใหญ่ที่สุดในโลก ออกแถลงการณ์ปฏิเสธข่าวที่ว่า ทางบริษัทพร้อมรับ litecoinจากลูกค้าสำหรับการชำระค่าสินค้าที่ซื้อผ่านระบบออนไลน์  โฆษกของวอลมาร์ทระบุว่า ข่าวดังกล่าวไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด  ทั้งนี้ litecoinซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัล พุ่งขึ้นถึง 27.4% ในวันนี้ ขานรับข่าวลือดังกล่าว ก่อนที่จะชะลอตัวลงมาบวกเพียง 5% หลังจากที่วอลมาร์ทออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว
  • (-) ดอลล์แข็งค่า ก่อนสหรัฐเผยดัชนี CPI วันนี้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ก.ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อจับทิศทางอัตราเงินเฟ้อและแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)  ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.11% แตะที่ 92.6755 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.00 เยน จากระดับ 109.89 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9228 ฟรังก์ จากระดับ 0.9178 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2667 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2658 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1803 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1815 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3831 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3845 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7360 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7364 ดอลลาร์
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 261.91 จุด รับแรงซื้อหุ้นพลังงาน-จับตา CPI สหรัฐดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (13 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมทั้งหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มธุรกิจเรือสำราญและกลุ่มสายการบิน ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค.ของสหรัฐในวันนี้ รวมทั้งการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 21-22 ก.ย.  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,869.63 จุด เพิ่มขึ้น 261.91 จุด หรือ + 0.76% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,468.73 จุด เพิ่มขึ้น 10.15 จุด หรือ + 0.23% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,105.58 จุด ลดลง 9.91 จุด หรือ -0.07%
  • (-) อินเดียเผยดัชนี CPI ปรับตัวลงสู่ 5.30% ในเดือนส.ค.สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินเดีย (NSO) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวลงสู่ระดับ 5.30% ในเดือนส.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.60% หลังจากแตะระดับ 5.59% ในเดือนก.ค.
  • (+/-) ผู้เชี่ยวชาญชี้การฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 ยังไม่จำเป็นในขณะนี้The Lancet ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ รายงานว่า การฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 แก่ประชาชนโดยทั่วไปเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้  บทความดังกล่าวมาจากมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญหลายคนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และองค์การอนามัยโลก (WHO)  รายงานระบุว่า การพิจารณาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น ขณะที่ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าวัคซีนที่มีการฉีดในสหรัฐยังคงมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรง และการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา  นอกจากนี้ แม้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่ร่างกายก็ยังคงมีระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ นอกเหนือจากแอนติบอดี ในการป้องกันโรคต่างๆ
  • (+/-) โอเปกหั่นคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันใน Q4/64จากพิษเดลตากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา  ทั้งนี้ ในรายงานภาวะตลาดน้ำมันประจำเดือนก.ย. โอเปกได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในไตรมาส 4 สู่ระดับ 99.7 ล้านบาร์เรล/วัน โดยลดลง 110,000 บาร์เรล/วันจากตัวเลขคาดการณ์ในรายงานเดือนส.ค.นอกจากนี้ โอเปกยังระบุว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันจะล่าช้าออกไปจนกว่าจะถึงปี 2565

- Advertisement -

Comments
Loading...