GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 12 พ.ย.64 by HGF

258

- Advertisement -

โดย  : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)

ทองคำปรับขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 6

คืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.

ทองคำคาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,840-1,870 ดอลลาร์

  • ราคาทองคำ Spot เมื่อวานปรับขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 6 โดยทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 5เดือนโดยทองคำยังได้รับปัจจัยหนุนจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ป้องกันอัตราเงินเฟ้อได้ หลังจากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐเดือนต.ค.เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 6.2% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงสุดในรอบกว่า 30 ปี ทางด้านกองทุน SPDRGold Trust ซื้อทองคำ0.58 ตันเมื่อวาน
  • คืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยจำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครเดือนก.ย. ตลาดคาดจะลดลงสู่ระดับ 10.02 ล้านตำแหน่งจาก 10.44 ล้านตำแหน่งในเดือนส.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.ของมหาวิทยาลัยมิชิแกนตลาดคาดจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 72.5 จากระดับ 71.7 ในเดือนก.ย.
  • แนวโน้มราคาทองคำทางด้านเทคนิคทั้งในระยะสั้นและระยะกลางเป็นขาขึ้น  สำหรับราคาทองคำในช่วงนี้คาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ1,840-1,870 ดอลลาร์ทั้งนี้ทองคำมีแนวรับอยู่ที่1,840 ดอลลาร์และ 1,833 ดอลลาร์ขณะที่มีแนวต้าน1,870 ดอลลาร์ และ 1,880 ดอลลาร์

ราคาทองตลาดโลก

Closechg.SupportResistance
1,861.20+12.31,840/1,8331,870/1,880

ราคาทองแท่ง 96.5%

Closechg.SupportResistance
28,950+65028,550/28,45029,000/29,150

โกลด์ฟิวเจอร์ส

ClosechgSupportResistance
29,040-12028,750/28,64029,150/29,300

สำหรับนักลงทุนที่ซื้อไว้แนะนำถือต่อไป (Let Profit Run)การเข้าซื้อเก็งกำไรแนะนำเมื่อราคาทอง Spot ปรับลงมาที่ 1,840ดอลลาร์ (GF 28,750 บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,833 ดอลลาร์ (GF28,640 บาท)

โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์

ClosechgSupportResistance
1,864.20+1.401,842/1,8351,872/1,882

สำหรับนักลงทุนที่ซื้อไว้แนะนำถือต่อไป (Let Profit Run)การเข้าซื้อเก็งกำไรแนะนำเมื่อราคาGOZ21ปรับลงมาที่ 1,842 ดอลลาร์โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,835ดอลลาร์

- Advertisement -

ค่าเงิน

ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดจะแข็งขึ้นเล็กน้อยหลังจากเมื่อวานช่วงระหว่างวันอ่อนค่าลงโดยเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ว่าการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อสหรัฐอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดโดยนักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกเดือนก.ค.2565 จากเดิมที่คาดไว้เดือนก.ย.2565 โดยUSD Futures เดือนธ.ค.2564 คาดจะมีแนวรับที่ 32.70 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้าน33 บาท/ดอลลาร์

News

ตลาดการเงินต่างประเทศ: ดอลล์แข็งค่าเก็งเฟดขึ้นดบ.เร็วกว่าคาดหลังเงินเฟ้อพุ่ง

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนที่ผ่านมา (11 พ.ย.) โดยดอลลาร์ยังคงได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าการพุ่งขึ้นของตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินเพิ่มขึ้น 0.35% แตะที่ 95.1764 เมื่อคืนนี้

ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ : ทองปิดพุ่ง $15.6 เหตุวิตกเงินเฟ้อหนุนแรงซื้อทอง

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 6 เมื่อคืนที่ผ่านมา (11 พ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเดินหน้าเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อหลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 30 ปีทั้งนี้สัญญาทองคำตลาดCOMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 15.6 ดอลลาร์หรือ 0.84% ปิดที่ระดับ 1,863.9 ดอลลาร์/ออนซ์ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. 2564   สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 52.9 เซนต์หรือ 2.14% ปิดที่ 25.301 ดอลลาร์/ออนซ์

ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ :น้ำมันWTI ปิดบวก 25 เซนต์นลท.ช้อนซื้อหลังราคาร่วงหนัก

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนที่ผ่านมา (11 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากราคาน้ำมันดิ่งลงอย่างหนักเมื่อวันพุธอย่างไรก็ดีราคาน้ำมันปรับตัวในกรอบแคบๆเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐรวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่ารัฐบาลสหรัฐอาจระบายน้ำมันจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในประเทศสัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 25 เซนต์หรือ 0.3% ปิดที่ 81.59 ดอลลาร์/บาร์เรลสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 23 เซนต์หรือ 0.3% ปิดที่ 82.87 ดอลลาร์/บาร์เรล

ตลาดหุ้นต่างประเทศ :ดาวโจนส์ปิดลบ 158.71 จุดหลังหุ้นดิสนีย์ร่วงหนัก

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 36,000 จุดเมื่อคืนที่ผ่านมา (11 พ.ย.) โดยถูกกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นวอลท์ดิสนีย์ซึ่งเป็น 1 ใน 30 หลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนีดาวโจนส์หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดอย่างไรก็ดีดัชนีS&P500 และNasdaqปิดในแดนบวกโดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,921.23 จุดลดลง 158.71 จุดหรือ -0.44%, ดัชนีS&P500 ปิดที่ 4,649.27 จุดเพิ่มขึ้น 2.56 จุดหรือ +0.06% และดัชนีNasdaqปิดที่ 15,704.28 จุดเพิ่มขึ้น 81.58 จุดหรือ +0.52%

“ไบเดน” เตรียมลงนามบังคับใช้กฎหมายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวันจันทร์หน้า

เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผยว่าประธานาธิบดีโจไบเดนจะลงนามบังคับใช้กฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Bipartisan Infrastructure Framework – BIF) มูลค่ากว่า1ล้านล้านดอลลาร์ในวันจันทร์หน้า (15พ.ย.) โดยพิธีลงนามในวันดังกล่าวจะมีสมาชิกสภาคองเกรสที่ช่วยร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าร่วมด้วยสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติอนุมัติร่างกฎหมายBIF เมื่อวันศุกร์ที่5พ.ย.ที่ผ่านมาหลังจากที่ร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาสหรัฐในเดือนส.ค.   เมื่อวันที่26มิ.ย.ที่ผ่านมาปธน.ไบเดนได้ประกาศการบรรลุข้อตกลงกับสภาคองเกรสเกี่ยวกับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในสหรัฐโดยโครงการBIF ดังกล่าวมีวงเงินรวม1.2ล้านล้านดอลลาร์และมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในสหรัฐ     “โครงการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสร้างงานหลายล้านตำแหน่งในสหรัฐและจะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานของเรามีความทันสมัยมากขึ้นโครงการเหล่านี้จะสร้างระบบการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมน้ำประปาที่สะอาดมีเครือข่ายบรอดแบนด์ที่ครอบคลุมมีสาธารณูปโภคด้านพลังงานที่สะอาดและจะช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมซึ่งโครงการลงทุนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนAmerican Jobs Plan ของผม” ปธน.ไบเดนกล่าวกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี2564ขึ้นสู่ระดับ7%ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ4.6%โดยการปรับเพิ่มคาดการณ์ดังกล่าวเกิดจากสมมติฐานที่ว่าจะมีการบังคับใช้แผนการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของประธานาธิบดีโจไบเดน

“ไบเดน” บ่นราคาสินค้าทั่วสหรัฐสูงเกินไปให้คำมั่นสกัดเงินเฟ้อ

ประธานาธิบดีโจไบเดนแห่งสหรัฐได้กล่าวในระหว่างการเดินทางเยือนเมืองบัลติมอร์รัฐแมรีแลนด์ว่าราคาสินค้าทั่วประเทศอยู่ในระดับที่สูงเกินไปพร้อมกับให้คำมั่นว่าจะใช้มาตรการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในสหรัฐขณะนี้  “ราคาสินค้าผู้บริโภคยังคงสูงเกินไป” ปธน.ไบเดนกล่าวหลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า30ปีกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคพุ่งขึ้น6.2%ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปีซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2533และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ5.9%จากระดับ5.4%ในเดือนก.ย.    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าปธน.ไบเดนได้เดินทางไปเยือนท่าเรือบัลติมอร์ซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเรือที่มีการขนส่งคับคั่งที่สุดของสหรัฐโดยความแออัดที่ท่าเรือได้กลายเป็นปัญหาหลักของการขาดแคลนอุปทานในระบบเศรษฐกิจสหรัฐ

“สีจิ้นผิง” ยันจีนพร้อมสร้างโอกาสมากขึ้นให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนเปิดเผยในวันนี้ว่าจีนได้เริ่มดำเนินการครั้งใหม่เพื่อที่จะสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่และจะสร้างโอกาสมากขึ้นให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสำนักข่าวซินหัวรายงานว่าปธน.สีแสดงความเห็นดังกล่าวในการแสดงสุนทรพจน์ที่อัดวิดีโอไว้สำหรับการประชุมสุดยอดซีอีโอ (CEO Summit) ทางออนไลน์ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC)ปธน.สีระบุว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนเป็นส่วนที่สำคัญของกระบวนการความร่วมมือของเอเชียแปซิฟิกตลอดหลายปีที่ผ่านมาโดยจีนได้บรรลุเป้าหมายในการสร้างสังคมที่มีความมั่งคั่งในระดับปานกลางอย่างเต็มรูปแบบภายในกรอบเวลาที่กำหนดประสบความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ในการขจัดความยากจนโดยสิ้นเชิงและเริ่มต้นดำเนินการครั้งใหม่ไปสู่การสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่    “จะสร้างโอกาสมากขึ้นสำหรับภูมิภาคของเรา” ปธน.สีระบุนอกจากนี้จีนจะยืนหยัดในด้านการปฎิรูปและการเปิดประเทศเพื่อเพิ่มแรงผลักดันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกด้านและสนับสนุนการอนุรักษ์ระบบนิเวศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและที่อื่นๆทั้งนี้ปธน.สีกล่าวเสริมว่าจีนจะยังคงมุ่งมั่นส่งเสริมความร่วมมือที่ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของภูมิภาค

- Advertisement -

Comments
Loading...