GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 11 ม.ค.65 by YLG

227

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

เน้นเก็งกำไรในกรอบจากการแกว่งตัว ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่ทะลุแนวต้าน 1,813-1,817ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อาจจะเห็นการอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับบริเวณ 1,789-1,776 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,798 1,776 1,764  แนวต้าน : 1,817 1,834 1,849

จจัยพื้นฐาน

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.08ดอลลาร์ต่อออนซ์ ระหว่างวันราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เพื่อสกัดเงินเฟ้อ  สะท้อนการคาดการณ์ล่าสุดจากธนาคารชั้นนำในวอลล์สตรีทหลายแห่ง  อาทิ  Goldman Sachs ที่คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ และจะเริ่มปรับลดขนาดงบดุลในเดือนก.ค.หรือเร็วกว่านั้น  ส่วนซีอีโอของ JPMorgan Chase & Co คาดการณ์เช่นเดียวกันว่าเฟดอาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง4 ครั้งในปีนี้  ด้าน Deutsche Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีคาดการณ์สอดคล้องกันว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดทั้งหมด 4 ครั้งในปีนี้  และคาดว่าการลดงบดุลของเฟดจะเริ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้  การคาดการณ์ดังกล่าวหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่21มกราคม 2020 ที่ 1.808% ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยให้อ่อนตัวลงทดสอบระดับต่ำสุดในระหว่างวันบริเวณ1,790.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  เริ่มมีแรงซื้อสลับเข้ามา  เนื่องจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นทำให้นักลงทุนบางส่วนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ  ประกอบกับบอนด์ยีลด์ 10 ปีลดช่วงบวกลง  ส่งผลให้ทองคำฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดเหนือ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ในที่สุด  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้  ติดตามการเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจขนาดเล็กจาก NFIB และการแถลงต่อคณะกรรมการการธนาคารประจำวุฒิสภาของนายพาวเวลล์ในกระบวนการพิจารณาแต่งตั้งนายพาวเวลล์เป็นประธานเฟดสมัยที่ 2

- Advertisement -

จจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำยังสามารถไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,813-1,817 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจทำให้เกิดการอ่อนตัวลงของราคาแต่หากสามารถยืนเหนือโซนแนวรับ 1,782-1,789 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ดังกล่าวได้ก็จะเห็นการดีดตัวขึ้น โดยยังมีโอกาสที่จะราคาทดสอบแนวต้านอีกครั้ง

กลยุทธ์การลงทุน :

แนะนำลงทุนในกรอบราคา โดยเปิดสถานะขายเมื่อราคาทองคำปรับตัวขึ้นไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,813-1,817 ดอลลาร์ต่อออนซ์อย่างแข็งแกร่ง ตัดขาดทุนหากราคาผ่านแนวต้านบริเวณ 1,817 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแบ่งเข้าซื้อคืนเพื่อทำกำไรหากราคาทองคำไม่หลุดแนวรับบริเวณ 1,789-1,776 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 162.79 จุด วิตกเงินเฟ้อพุ่งหนุนเฟดเร่งขึ้นดบ.ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (10 ม.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า การพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในช่วงท้ายตลาด  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,068.87 จุด ลดลง 162.79 จุด หรือ -0.45%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,670.29 จุด ลดลง 6.74 จุด หรือ -0.14% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,942.83 จุด เพิ่มขึ้น 6.93 จุด หรือ +0.05%
  • (+) “บลิงเกน” คาด “สหรัฐ VS รัสเซีย” เจรจาวันนี้ไม่ช่วยปลดชนวนยูเครนนายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ กล่าวว่า เขาไม่คาดว่าการเจรจาระหว่างสหรัฐและรัสเซียในวันนี้จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายมีความคืบหน้า ตราบใดที่ยังคงมีความตึงเครียดที่ชายแดนยูเครน  “ผมไม่คิดว่าเราจะบรรลุข้อตกลงใดๆในการเจรจา โดยเราจะรับฟังสิ่งที่พวกเขามีความกังวล และพวกเขาก็จะรับฟังในสิ่งที่เรามีความกังวล และเราจะดูว่าการเจรจามีความคืบหน้าหรือไม่ แต่คงเป็นไปได้ยาก ขณะที่ยังคงมีความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น” นายบลิงเกนกล่าวนายบลิงเกนยังเสริมว่า “รัสเซียส่งทหาร 100,000 นายประชิดชายแดนยูเครน และสามารถเพิ่มกำลังพลได้ทุกเมื่อ ดังนั้นถ้าเราต้องการลดความตึงเครียด และให้การเจรจามีความคืบหน้า เรื่องนี้ก็จำเป็นต้องมีการแก้ไข”
  • (+) สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนพ.ย.กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.2% หลังจากพุ่งขึ้น 2.5% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งพุ่งขึ้น 15.9% ในเดือนพ.ย.
  • (+) บิตคอยน์ดิ่งกว่า 5% ต่ำสุดรอบกว่า 5 เดือน หลุด 40,000 ดอลลาร์บิตคอยน์ดิ่งลงอย่างต่อเนื่องหลุดระดับ 40,000 ดอลลาร์ในวันนี้ ท่ามกลางความกังวลที่ว่า อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในสหรัฐจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะกดดันสภาพคล่องในตลาด  ทั้งนี้ บิตคอยน์ร่วงลงมากกว่า 5% สู่ระดับ 39,558 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค.2564  นอกจากนี้ บิตคอยน์ทรุดตัวลงมากกว่า 40% นับตั้งแต่ที่พุ่งทำสถิติสูงสุดเหนือระดับ 69,000 ดอลลาร์ในเดือนพ.ย.2564
  • (-) ดอลล์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย-จับตาเงินเฟ้อสหรัฐดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (10 ม.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในสหรัฐจะผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันพุธนี้  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.27% แตะที่ 95.9906  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9272 ฟรังก์ จากระดับ 0.9185 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2680 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2633 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.21 เยน จากระดับ 115.56 เยน  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1322 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1362 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3570 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3595 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7169 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7184 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+/-) นักวิเคราะห์คาดเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งทะลุ 7% ในเดือนธ.ค. จาก 6.8% ในเดือนพ.ย.  นักลงทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันพุธนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)  นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 7.1% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี  นอกจากนี้ คาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะพุ่งขึ้น 5.4% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี

- Advertisement -

Comments
Loading...