GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 11 พ.ค.65 By HGF

548

- Advertisement -

โดย  : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)

ทองลงแรงต่ำสุด 1,831 ดอลลาร์ ดอลลาร์แข็งค่ายังกดดันทองคำ

คืนนี้สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.

สัญญาณเทคนิคของราคาทองคำมีทิศทางไม่สดใส

  • ราคาทอง Spot ปรับตัวลงแรงในระดับต่ำสุดที่ 1,831 ดอลลาร์ โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ทั้งนี้นักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้เงินเฟ้อ ซึ่งเฟดมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 0.50% ในการประชุมเดือนหน้า ขณะที่หลายฝ่ายต่างมีความกังวลว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่านั้น ทางด้านกองทุน SPDR Gold Trust ขายทองคำสุทธิ 7.25 ตันจากเมื่อวานที่ผ่านมา
  • คืนนี้สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หรือเพิ่มขึ้น 8.1% เมื่อเทียบรายปี จากเพิ่มขึ้น 8.5% เมื่อเทียบรายปี  
  • สัญญาณเทคนิคของราคาทองคำมีทิศทางไม่สดใส คาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวลงได้ต่อ โดยราคาทองคำมีแนวรับ 1,820 ดอลลาร์ และแนวรับถัดไป 1,800 ดอลลาร์  ขณะที่มีแนวต้าน 1,850 ดอลลาร์ และ 1,860 ดอลลาร์

ราคาทองตลาดโลก

Closechg.SupportResistance
1,837.80-15.51,820/1,8001,850/1,860

ราคาทองแท่ง 96.5%

Closechg.SupportResistance
30,450-15029,900/29,75030,250/30,400

โกลด์ฟิวเจอร์ส

ClosechgSupportResistance
30,380-20030,230/30,08030,540/30,670

แนะนำเปิดสถานะขายบริเวณ 1,860 ดอลลาร์ (GF 30,670บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,870 ดอลลาร์ (GF 30,770 บาท)

- Advertisement -

โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์

ClosechgSupportResistance
1,859.60-10.71,822/1,8021,852/1,862

แนะนำเปิดสถานะขายบริเวณ  1,862 ดอลลาร์ โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,872 ดอลลาร์

ค่าเงิน

ค่าเงินบาทเมื่อวานที่ผ่านมาแข็งค่าเล็กน้อย หลังจากค่าเงินบาทอ่อนค่ามากสุดในรอบ 5 ปี  อย่างไรก็ตามสกุลเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าในระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี ทำให้แนวโน้มค่าเงินบาทคาดว่ายังคงอ่อนค่าได้ต่อ สำหรับ USD Futures เดือนมิ.ย.65 มีแนวรับที่ 34 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 35 บาท/ดอลลาร์

News

ไบเดนแนะสภาคองเกรสเร่งอนุมัติงบช่วยเหลือยูเครนก่อนงบรับมือโควิด

          ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐประกาศว่า เขาต้องการให้สภาคองเกรสแยกร่างกฎหมายช่วยเหลือยูเครนและจัดหางบประมาณสำหรับการรับมือกับโรคโควิด-19 ของประเทศออกเป็น 2 ฉบับ    สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่า ปธน.ไบเดนได้เรียกร้องให้สภาคองเกรสอนุมัติร่างกฎหมายจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือยูเครนก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการรับมือกับโรคโควิด-19 ในสหรัฐ โดยเดิมทีแล้วปธน.ไบเดนได้ขอให้สภาคองเกรสรวมร่างกฎหมายจัดสรรงบช่วยเหลือยูเครนและโควิด-19 เอาไว้เป็นฉบับเดียว   “ก่อนหน้านี้ ผมได้แนะนำให้สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายจัดสรรงบประมาณสำหรับการรักษา การฉีดวัคซีน และการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและยืดเยื้อมานานไว้ในร่างกฎหมายรายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือยูเครน” ปธน.ไบเดนระบุในแถลงการณ์

อาเซียนอาจเกิดความวุ่นวายทางสังคมครั้งใหญ่ หากราคาอาหารพุ่งไม่หยุด

          นายโมฮัมหมัด ฟาอีซ นากูทา นักเศรษฐศาสตร์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา ซีเคียวริตีส์ (BofA Securities) เปิดเผยว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดความวุ่นวายในสังคม หากราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นมาก  นายนากูทาให้สัมภาษณ์ในรายการ “Street Signs Asia” ของสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า “นั่นเป็นเพราะจำนวนเงินที่คนในประเทศต่าง ๆ เช่น ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และเวียดนาม ใช้จ่ายไปกับค่าอาหารมีสัดส่วนที่สูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ”    “แต่จะว่าไป ภาวะเงินเฟ้อด้านอาหารในอาเซียนยังอยู่ในวงจำกัดและมีความเสี่ยงน้อยกว่าในอดีตเล็กน้อย เพราะเราพึ่งพาการค้าในภูมิภาคในปริมาณมาก นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลออกมาเพื่อสกัดเงินเฟ้อด้านราคาอาหาร” แม้ภาวะเงินเฟ้อในภูมิภาคจะพุ่งสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับแนวโน้มในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เขาระบุว่า สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเดือนและไตรมาสข้างหน้า ขณะเดียวกัน เขาก็ได้เตือนว่า ราคาสินค้าจะปรับตัวขึ้นอยู่ดีในท้ายที่สุด แม้รัฐบาลหลายประเทศจะหวังว่า ราคาสินค้าจะค่อย ๆ ขยับลง   ข้อมูลจากโฟกัสอีโคโนมิกส์ (FocusEconomics) บริษัทผู้ให้บริการด้านข้อมูลเปิดเผยว่า ภาวะเงินเฟ้อในภูมิภาคเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.5% ในเดือนมี.ค.จากระดับ 3% ในเดือนก.พ.   นอกจากนี้ นายนากูทายังเพิ่มเติมว่า ความต้องการในตลาดจะมีส่วนผลักดันให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจและปริมาณการใช้บริการต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มแรงกดดันด้านต้นทุนที่ภาคธุรกิจต้องแบกรับ และจะหาทางผลักภาระด้านต้นทุนบางส่วนไปให้กับผู้บริโภค และเมื่อรวมกับเงินเฟ้อด้านราคาน้ำมันและอาหารทั่วโลก ก็จะทำให้เงินเฟ้อโดยรวมในภูมิภาคสูงขึ้นในที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญจีนชี้กลยุทธ์โควิดเป็นศูนย์ช่วยซื้อเวลาให้ปชช.ฉีดวัคซีนมากขึ้น

          คณะที่ปรึกษาทางการแพทย์ระดับอาวุโสของจีนเปิดเผยผ่านวารสารการแพทย์เดอะแลนเซต (The Lancet) ว่า มาตรการโควิดเป็นศูนย์ (Zero Covid) อันเข้มงวดของจีนนั้นยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการเอาชนะโรคระบาดและซื้อเวลาในการเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีน รวมถึงพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ ๆ    สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่า นครเซี่ยงไฮ้ซึ่งมีประชากร 25 ล้านคนบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์มาเกือบ 6 สัปดาห์แล้ว ในขณะที่ต่อสู้กับการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของโรคโควิด-19 ในประเทศ แต่รัฐบาลไม่ใส่ใจกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกลยุทธ์โควิดเป็นศูนย์ โดยย้ำว่า นโยบายดังกล่าวยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด  คณะผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของนครเซี่ยงไฮ้เปิดเผยว่า บทบาทสำคัญของเซี่ยงไฮ้ที่มีต่อเศรษฐกิจของชาตินั้น ทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ได้   “ในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจชั้นนำและเมืองเปิดของจีน เซี่ยงไฮ้มีการแลกเปลี่ยนอย่างมหาศาลกับเมืองและภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ ดังนั้น หากปล่อยให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปยังสถานที่อื่น ๆ ย่อมก่อให้เกิดผลลัพธ์ร้ายแรงแบบคาดไม่ถึง”

- Advertisement -

Comments
Loading...