GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 1 มิ.ย.65 by YLG

530

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

หาจังหวะเข้าซื้อ เมื่อราคาการอ่อนตัวลงเข้าใกล้โซน 1,827-1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ ราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,851-1,869 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วน แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายออกไป

แนวรับ : 1,818 1,803 1,786  แนวต้าน : 1,851 1,869 1,884

ปัจจัยพื้นฐาน

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 19.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ระหว่างวันแรงซื้อจะหนุนให้ทองคำพุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดที่ 1,857.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคาทองคำไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้ พร้อมกับปรับตัวลงโดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ “ดีเกินคาด” ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐจาก CB ที่ปรับตัวลงน้อยกว่าคาดสู่ระดับ 106.4 ในเดือนพ.ค. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 60.3 สวนทางการที่คาดการณ์ของนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงสู่ระดับ 55.0

นอกจากนี้ราคาทองยังได้รับแรงกดดันจากความเห็นของนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟดที่สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนจนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ทั้ง 2 ประเด็นส่งผลหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 2.884%

ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 0.41% สู่ระดับ 101.783 ซึ่งเป็นพุ่งขึ้นในวันเดียวที่มากที่สุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ ส่งผลกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 10, 21 และ 200 วันจนกระตุ้นแรงขายตามทางเทคนิค สถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1,835 ดอลลาร์ต่อออนซ์และปรับตัวลงต่อในช่วงเช้าวันนี้ของตลาดเอเชีย ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.45 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิต, จํานวนตําแหน่งงานว่างเปิดใหม่และข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง

จจัยทางเทคนิค

ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่หลุด 1,827-1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มีโอกาสที่ราคาพยายามทรงตัวรักษาระดับไว้ ประเมินว่าเป็นการอ่อนตัวลง เป็นการสะสมแรงซื้อ โดยการขยับขึ้นจะมีแนวต้านระยะสั้นโซน 1,851 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากผ่านได้แนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ 1,869 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ระดับสูงสุดของสัปดาห์ที่ผ่านมา)

- Advertisement -

กลยุทธ์การลงทุน

เข้าซื้อเมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงและสามารถยืนเหนือโซน 1,827-1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์อย่างแข็งแกร่ง ตัดขาดทุนหากราคาหลุดแนวรับบริเวณ 1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแบ่งขายทำกำไรหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,851-1,869 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากผ่านได้สามารถถือสถานะซื้อต่อ

ข่าวสารประกอบการลงทุน

• (+) ดาวโจนส์ปิดร่วง 222.84 จุด กังวลราคาน้ำมันผันผวน-เฟดขึ้นดบ. ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (31 พ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากความผันผวนของราคาน้ำมัน รวมทั้งการที่นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนจนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,990.12 จุด ลดลง 222.84 จุด หรือ -0.67%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,132.15 จุด ลดลง 26.09 จุด หรือ -0.63% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,081.39 จุด ลดลง 49.74 จุด หรือ -0.41%

• (+) เงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งแตะนิวไฮ ส่อเค้ากดดัน ECB เร่งขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งในเดือนพ.ค. ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้นเพียงพอที่จะยับยั้งการขยายตัวของเงินเฟ้อที่ระดับสูง เงินเฟ้อของยูโรโซนซึ่งประกอบด้วย 19 ประเทศ เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 8.1% ในเดือนพ.ค.จาก 7.4% ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 7.7% เนื่องจากราคาสินค้ายังคงขยายตัวในวงกว้าง ไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงราคาพลังงานอีกต่อไป

• (+) ยูเครนยินดียุโรประงับนำเข้าน้ำมันบางส่วนจากรัสเซีย เชื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงทำสงครามได้ กระทรวงการต่างประเทศยูเครนได้ออกแถลงการณ์ยอมรับมติของสหภาพยุโรป (EU) ในการระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย โดยยูเครนเชื่อว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะกระทบเศรษฐกิจของรัสเซีย และตัดแหล่งการเงินขนาดใหญ่ที่รัสเซียใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงครามได้ แถลงการณ์จากกระทรวงต่างประเทศยูเครนระบุว่า “เราคาดว่าภายในปี 2565 รัสเซียจะสูญเสียการส่งออกน้ำมันไปยุโรปถึง 90%” ซึ่งหมายความว่ารัสเซีย “จะไม่ได้รับเงินหลักหมื่นล้านดอลลาร์ไปใช้ทำสงครามกับยูเครน”

• (+) รัสเซียอาจต้องพึ่งพาจีน-อินเดียซื้อน้ำมันเพิ่ม เหตุยุโรปแบนนำเข้า สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียอาจต้องพึ่งพาจีนและอินเดียมากยิ่งขึ้น หลังสหภาพยุโรป (EU) มีมติสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียในสัดส่วนกว่า 2 ใน 3 ในขณะที่ผู้ที่สามารถกลั่นน้ำมันชนิดที่ยุโรปนำเข้าได้นั้นมีเพียงไม่กี่รายในเอเชีย ทั้งนี้ บรรดาผู้นำใน EU ได้เห็นพ้องต้องกันต่อแผนสั่งห้ามนำเข้าน้ำมันดิบรัสเซียที่ทำการขนส่งทางทะเล ซึ่งมีแนวโน้มทำให้รัสเซียต้องสูญเสียรายได้การส่งออกมากถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์

• (+) ‘ส.ว.แทมมี่’ พบผู้นำไต้หวัน ย้ำจุดยืนสหรัฐฯ ร่วมต้านภัยคุกคามจากจีน วุฒิสมาชิกอเมริกันลูกครึ่งไทย แทมมี่ ดักเวิร์ธ เดินทางเยือนไต้หวันเพื่อเข้าพบประธานาธิบดี ไช่ อิง เหวิน ในวันอังคาร และตอกย้ำความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงที่ใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลไทเปและวอชิงตัน ท่ามกลางภัยคุกคามจากจีนในภูมิภาค ตามรายงานของเอพี วุฒิสมาชิก ดักเวิร์ธ กล่าวกับผู้นำไต้หวันในวันอังคารว่า เธอต้องการที่จะเน้นย้ำถึงการสนับสนุนของสหรัฐฯ ในด้านความมั่นคงของไต้หวัน และว่า การสนับสนุนนี้เป็นมากกว่าเรื่องของการทหาร แต่ยังรวมถึงด้านเศรษฐกิจด้วย พร้อมกันนี้ยังได้กล่าวถึงการผลักดันร่างกฎหมายงบประมาณที่สนับสนุนความร่วมมือระหว่างกองทัพไต้หวันกับกองกำลังแนชันแนลการ์ดของสหรัฐฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองในสภาทั้งฝั่งเดโมแครตและรีพับลิกันด้วย

• (-) ดอลล์แข็งรับบอนด์ยีลด์พุ่ง-เจ้าหน้าที่เฟดหนุนขึ้นดบ. ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (31 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ รวมทั้งการที่นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.08% สู่ระดับ 101.7510 ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 128.65 เยน จากระดับ 127.53 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9587 ฟรังก์ จากระดับ 0.9578 ฟรังก์

อย่างไรก็ดี ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2644 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2657 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0740 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0785 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2604 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2628 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7177 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7163 ดอลลาร์สหรัฐ

• (-) Conference Board เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐลดลงเล็กน้อยในเดือนนี้ ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 106.4 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 108.6 ในเดือนเม.ย.

- Advertisement -

Comments
Loading...