GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 1 พ.ย.64 by YLG

317

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

แนะนำซื้อขายทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยเปิดสถานะขายในโซนแนวต้าน1,792-1,805 ดอลลาร์ต่อออนซ์และแบ่งปิดสถานะขายเพื่อทำกำไรบริเวณแนวรับโซน 1,772-1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำสามารถยืนเหนือโซนดังกล่าวได้

แนวรับ : 1,770 1,760 1,745  แนวต้าน : 1,792 1,805 1,821

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 15.44ดอลลาร์ต่อออนซ์โดยราคาทองคำเริ่มเผชิญกับแรงขายทำกำไรหลังจากราคาไม่สามารถกลับไปยืนเหนือแนวต้านจิตวิทยาบริเวณ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ขณะที่นักลงทุนบางส่วนขายลดสถานะการลงทุนก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินในช่วงกลางสัปดาห์นี้  นอกจากนี้  ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ การเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน แต่เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE ทั่วไปพุ่งขึ้น 4.4% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 1991 ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน เพิ่มขึ้น 3.6% ในเดือนก.ย. แม้ตัวเลขดังกล่าวจะสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์  แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่าเงินเฟ้อในสหรัฐยังคงอยู่ในระดับสูงซึ่งกลับมากระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ  ทำให้ดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น  +0.83%  ปัจจัยดังกล่าวกดดันราคาทองคำให้ร่วงหลุดแนวรับสำคัญที่เป็นเทรนไลน์และเส้นค่าเฉลี่ย 50, 100 และ 200 วัน  จนกระตุ้นแรงขายทางเทคนิคเพิ่มเติม  ส่งผลให้ราคาทองคำดิ่งลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,771.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนเกิดแรงซื้อ Buy the dip ในช่วงปลายตลาดเนื่องจากราคาทองอยู่ในภาวะขายมากเกินไป  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมาร์กิตและ ISM 

จจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำทดสอบแนวต้านที่ 1,792-1,805 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้งแต่ไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังแรงขายเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเมื่อราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นยังคงมีแรงขายออกมาเพิ่ม ขณะที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นค่อนข้างจำกัด ทำให้ประเมินแนวรับระยะสั้นในโซน 1,772-1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

แนะนำให้เก็งกำไรในกรอบ โดยเปิดสถานะขายเมื่อราคาดีดตัวขึ้นไปบริเวณแนวต้าน 1,792-1,805ดอลลาร์ต่อออนซ์ และรอซื้อปิดสถานะขายหากราคาลงมาย้ำหรือไม่หลุดบริเวณแนวรับ 1,772-1,770ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาหลุดแนวรับ แนะนำให้ชะลอการซื้อคืน หรือ เปิดสถานะซื้อออกไป

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) อนามัยโลกเตือนโควิดยังไม่จบ ยอดตาย-ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มครั้งแรกในรอบ 2 เดือนสำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยในการแถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลก ได้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน เนื่องจากการแพร่ระบาดพุ่งขึ้นทั่วยุโรป   WHO เปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในยุโรปเพิ่มขึ้น 3 สัปดาห์ติดต่อกัน แม้ยอดติดเชื้อลดลงในทุกภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก โดยยอดผู้ติดเชื้อในยุโรป พุ่งขึ้น 18% ในสัปดาห์ที่แล้ว  “จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากโรคโควิด-19 กำลังเพิ่มขึ้นในขณะนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน ซึ่งเป็นผลจากยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุโรปซึ่งบดบังการลดลงในภูมิภาคอื่น ๆ” นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าว
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) โดยนักลงทุนปรับตัวรับการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.82% แตะที่ 94.1169 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 113.91 เยน จากระดับ 113.46 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9154 ฟรังก์ จากระดับ 0.9118 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2373 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2347 ดอลลาร์แคนาดา  ส่วนยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1560 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1683 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3690 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3787 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7525 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7538 ดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นไมโครซอฟท์ ซึ่งได้ช่วยชดเชยการร่วงลงของหุ้นแอมะซอนและหุ้นแอปเปิลหลังเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวังดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,819.56 จุด เพิ่มขึ้น 89.08 จุด หรือ +0.25%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,605.38 จุด เพิ่มขึ้น 8.96 จุด หรือ +0.19% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,498.39 จุด เพิ่มขึ้น 50.27 จุด หรือ +0.33%
  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐได้อนุมัติแล้วในวันศุกร์ (29 ต.ค.) ให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์และไบออนเทคกับเด็กอายุ 5-11 ปี ซึ่งนับเป็นวัคซีนโควิดตัวแรกที่ได้รับอนุมัติให้ใช้กับเด็กเล็กในสหรัฐอย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุว่า จะยังไม่มีการฉีดวัคซีนให้กับเด็กในวัยดังกล่าวในทันที โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐยังคงจำเป็นต้องแนะนำว่า ควรจะฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ๆ อย่างไร ซึ่งจะมีการตัดสินใจหลังจากที่กลุ่มที่ปรึกษาภายนอกได้หารือกันเกี่ยวกับแผนการดังกล่าวในวันอังคารหน้า
  • ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 71.7 ในเดือนต.ค. จากระดับ 72.8 ในเดือนก.ย. อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 71.2  ดัชนีได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และภาวะคอขวดของห่วงโซ่อุปทาน
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE ทั่วไปพุ่งขึ้น 4.4% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2534ดัชนี PCE ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาอาหารและพลังงานส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้น 3.6% ในเดือนก.ย. สอดคล้องกับเดือนส.ค.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ย. แต่ชะลอตัวจากระดับ 1.0% ในเดือนส.ค.ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.ย.ขณะเดียวกัน รายได้ส่วนบุคคลลดลง 1.0% ในเดือนก.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 0.4%

- Advertisement -

Comments
Loading...