GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

ทำความรู้จัก Bond Yield ผลตอบแทนพันธบัตร เกี่ยวข้องกับการลุงทุนอย่างไร

755

- Advertisement -

ในโลกของการลงทุนในปัจจุบัน นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้รู้เท่าทันสิ่งแวดล้อมการลงทุนในสินทรัพย์ที่เราถือครอง ทั้งสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และที่เกิดขึ้นใหม่ วันนี้เราขอนำเสนอเรื่องของ Bond Yield จากบทความของ thestandard.co ได้เขียนอธิบายสั้น ๆ เข้าใจง่าย ดังนี้…

ช่วงนี้มักได้ยินข่าวเกี่ยวกับผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) บ่อยขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเพราะ ‘ราคาพันธบัตร’ ปรับลดลงแรง จึงทำให้ Bond Yield พุ่งขึ้นค่อนข้างแรงเช่นกัน 

โดย Bond Yield ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อเนื่องไปยังตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงด้วย หลายคนอาจมีคำถามว่าแล้ว Bond Yield คืออะไร เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นอย่างไร ทีมข่าว THE STANDARD WEALTH จะเล่าให้ฟัง

Bond Yield ถ้าแปลตรงตัวก็คือ ‘อัตราผลตอบแทนจากการถือครองพันธบัตร’ ซึ่งผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทนในรูปของ ‘ดอกเบี้ย’ จากการถือพันธบัตรนั้นๆ ดังนั้นแล้วการเคลื่อนไหวของ Bond Yield จึงมักจะ ‘สวนทาง’ กับราคาของพันธบัตรเสมอ

กล่าวคือหาก Bond Yield ปรับตัวลดลง จะหมายความว่าราคาพันธบัตรนั้นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะราคาพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่ได้รับ ผลตอบแทนจึงถือว่าลดลง 

ในทางตรงกันข้าม หาก Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นก็จะหมายความว่าราคาพันธบัตรนั้นๆ ปรับตัวลดลง ทำให้ผลตอบแทนจากการถือพันธบัตรเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่ได้รับปรับเพิ่มขึ้นนั่นเอง

โดย Bond Yield ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและคอยติดตามดูการเคลื่อนไหวคือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่นอายุ 10 ปี 

แล้ว Bond Yield เกี่ยวพันอย่างไรกับตลาดหุ้น 

เมื่อ Bond Yield หรืออัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาคือความกังวลของนักลงทุนที่ห่วงว่าธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรุนแรง 

สำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้น หากอัตราดอกเบี้ยค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นเพราะเศรษฐกิจมีการขยายตัวที่ดี กรณีนี้ถือว่าเป็นข่าวบวก แต่เมื่อไรที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แทนที่จะสะท้อนถึงเศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี ในทางตรงกันข้ามจะเป็นตัวบั่นทอนการขยายตัวของกำไรบริษัทต่างๆ เพราะต้นทุนในการกู้ยืมเพื่อทำธุรกิจจะสูงขึ้น

นอกจากนี้ในสายตาของนักลงทุน เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนตราสารหนี้สูงขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นหากการลงทุนหุ้นยังให้ผลตอบแทนโดยรวมไม่ต่างจากเดิม แต่การลงทุนตราสารหนี้กลับมีโอกาสได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จึงทำให้เสน่ห์หรือความน่าสนใจของการลงทุนในตลาดหุ้นลดลงไปด้วยนั่นเอง

- Advertisement -

ที่มา : thestandard.co

ทีนี้เรามาดูในรายละเอียดของความสำคัญ และในนัยยะต่อการลงทุน ที่เขียนโดย finnomena.com กันครับ

ในเชิงคำนวณ

นิยามของ Yield (อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล / ตราสารหนี้)แบบเข้าใจง่าย คือผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่นักลงทุนจะได้รับจากการถือพันธบัตรนั้น ๆ ในกรณีที่ถือจนครบอายุ (Hold to maturity) พันธบัตรแต่ละตัวจะมีคูปองหน้าตั๋วของตัวมันเอง เช่น พันธบัตร LB145B (ครบอายุปี 2014 รุ่น B หรืออายุคงเหลือประมาณ 5 ปี) มีคูปองหน้าตั๋วอยู่ที่ 5.25% นั่นคือถ้าซื้อพันธบัตรที่ราคาพาร์ 1,000 บาท จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.25%

แต่ปัจจุบัน Yield ของพันธบัตรดังกล่าวที่ซื้อขายในตลาดอยู่ที่ระดับ 3.50% ถ้าไปดูราคาตลาดของพันธบัตรใบนี้จะพบว่าปัจจุบันอยู่ในระดับ 1,100 บาท นั่นคือราคาซื้อขายของตราสารใบนี้สูงกว่าราคาพาร์ (Premium) โดยนักลงทุนที่ซื้อต้องจ่ายเงินลงทุน 1,100 บาท และได้คูปองปีละ 5.25% (คิดเป็น 52.5 บาทต่อปี) โดยเมื่อพันธบัตรครบอายุในปี 2014 ก็สามารถนำไปไถ่ถอนคืนเงินต้นได้ที่ราคา 1,000 บาท

คิด เป็นตัวเลขคร่าว ๆ คือ ลงทุนวันนี้ 1,100 บาท อีก 5 ปีไถ่ถอนได้เงินคืน 1,000 บาท ก็คือขาดทุนปีละ 20 บาท เมื่อมารวมกับดอกเบี้ยปีละ 52.5 บาท Net แล้วคือได้ดอกเบี้ยประมาณ 32.5 บาท (เมื่อคิดรวมกับหลัก Present Value แล้วจะได้เป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีหรือ Yield 3.50% พอดี)

ความสำคัญของ Yield 

Yield นับเป็นดอกเบี้ยตัวหนึ่งที่สะท้อนการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคตของตลาด เช่นในปี 2008 ช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย. ที่ Yield พันธบัตร 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากจากประมาณ 3% ไปถึงระดับเกือบ 5% (ตามรูป) เนื่องจากในช่วงนั้นเงินเฟ้อของไทยขึ้นไปถึงประมาณ 9% ทำให้นักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่แบงค์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยได้มาก ซึ่งหลังจากนั้นในช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. แบงค์ชาติก็ได้ขึ้นดอกเบี้ยจาก 3.25% ไปสู่ 3.75% โดยสรุปคือ Yield มักจะเป็น Leading indicator ที่ดีของทิศทางดอกเบี้ยของประเทศนั่นเอง

นัยต่อการลงทุน และการทำธุรกิจ

ใน ภาวะปัจจุบันที่ Yield 2 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นไปถึง 2% นำหน้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยมีแนวโน้มจะปรับตัว เพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ หาก เห็นว่า Yield เป็นแนวโน้มขาขึ้นการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ก็ควรลงทุนในระยะสั้น เพื่อรอให้ Yield ขึ้นไปจนถึงระดับที่สูงกว่านี้ค่อยล็อคเงินลงทุนยาวและได้ผลตอบแทนที่สูง ขึ้น (ถ้าถือตราสารหนี้ระยะยาวแล้ว Yield ปรับขึ้น จะทำให้มูลค่าตามราคาตลาดลดลง หรือขาดทุน) ในแง่ของการลงทุนในตลาดหุ้น ถ้าแนวโน้มดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น เราก็ควรนำไปเป็นปัจจัยลบตัวหนึ่งสำหรับบริษัทที่มีภาระหนี้สินเยอะ หรือแม้แต่ภาคอสังหาที่ภาวะดอกเบี้ยขึ้นจะทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และสุดท้ายในมุมของผู้ประกอบการที่ต้องใช้สินเชื่อ เมื่อเห็นดังนี้ก็เป็นโอกาสดีที่จะทำการขอสินเชื่ออายุค่อนข้างยาว หรือพยายามจัดสินเชื่อให้เป็นดอกเบี้ยคงที่เพื่อกันความเสี่ยงของต้นทุน ดอกเบี้ยในอนาคต

ที่มา : finnomena.com

- Advertisement -

Comments
Loading...