GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

ทองคำ VS ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำไมถึงสวนทางกัน? EP.4 จนถึงปัจจุบัน (ตอนจบ)

511

- Advertisement -

ลากยาวมาถึงตอนจบซักทีนะครับสำหรับซีรีย์เรื่องยาวเรื่องนี้ที่เริ่มด้วยคำถามสั้นๆว่า ทำไมทองคำกับดอลลาร์ถึงสวนทางกัน? ถ้าลองอ่านไล่มาตั้งแต่ตอนที่หนึ่ง ผู้อ่านหลายๆท่านก็คงพอจับจุดได้แล้วนะครับ ว่าทำไมทองคำถึงมาเกี่ยวกับค่าเงิน ทำไมธ.กลางต้องเก็บทองคำเป็นทุนสำรอง รวมถึงทำไมทองคำกับดอลลาร์ถึงเกี่ยวข้องกัน วันนี้เรามาขมวดปมให้เรียบร้อยกันดีกว่าครับ

จากตอนที่แล้วที่โลกของเราหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั่วโลกก็มานั่งคุยกันว่าจะเอายังไงต่อกับระบบการเงินโลกในตอนนี้ จนในที่สุดก็บรึ้มออกมาเป็นระบบ Bretton Woods ซึ่งเจ้าความคิดก็ไม่ใช่ใครอื่น ก็สหรัฐฯซึ่งในตอนนั้นได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลกหมาดๆแทนที่ประเทศในยุโรปที่บอบช้ำจากการเอาปืนมายิงเล่นกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รายละเอียดเป็นอย่างไรคงต้องย้อนไปดูในตอนที่แล้วกันเองนะครับ ซึ่งตอนนี้ขอสรุปเพียงสั้นๆว่าด้วยระบบ Bretton Woods นี้เองที่ทำให้สหรัฐฯมีบทบาทมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งลากยาวมาถึงปัจจุบันนี้ เนื่องมาจากเงื่อนไขสำคัญที่ให้ทุกชาติต้องผูกค่าเงินไว้กับทองคำหรือดอลลาร์และกำหนดให้ทุกประเทศสามารถนำเงินดอลลาร์ที่ตนมีมาแลกกับทองคำจากสหรัฐฯได้ในอัตรา 35ดอลลาร์ต่อ 1 ออนซ์ ซึ่งมองผิวเผินแล้วระบบ Bretton Woods ก็ดูเป็นระบบที่เหมาะสม เพราะแต่ละประเทศก็สามารถปรับเปลี่ยนค่าเงินของตนได้ ไม่เกิน 10% ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ไม่ต้องตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้เหมือนมาตรฐานทองคำและมีองค์กรคอยกำกับดูแลเรื่องดังกล่าวอยู่ (IMF) รวมถึง สามารถพิมพ์เงินได้มากขึ้น เนื่องจากเงินดอลลาร์ที่ทุกประเทศต้องเอาค่าเงินไปผูก ด้วยนั้น ก็ผลิตกันได้ง่ายกว่าทองคำ และมีความน่าเชื่อถือด้วย เพราะหากอยากได้ทองคำมาเก็บไว้ ก็เอาดอลลาร์ไปแลกทองคำจากสหรัฐฯ แต่ระบบนี้ก็มีจุดอ่อนครับ สำหรับผมแล้ว มันอาจหนักหนากว่าระบบมาตรฐานทองคำเสียด้วย

จากที่อธิบายมาข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่า สหรัฐฯเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกประเทศ จนทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯกลายมาเป็นสื่อกลางสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศ หมายความอีกนัยหนึ่งก็คือ ระบบนี้จะไปรอดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯครับ ซึ่งช่วงแรกๆก็ไปได้ด้วยดีครับ เพราะตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯต้องบอกได้ว่าค่อนข้างเข้มแข็งเลยทีเดียว เพราะประเทศอื่นต่างโดนภัยสงครามเล่นงานกันหมด ปริมาณเงินดอลลาร์ในช่วงแรกๆก็ยังมีไม่มากนัก แต่แน่นอนครับ สหรัฐฯเข้าไปมีบทบาทต่อโลกมากขึ้น เมื่อเงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางในการค้าขายระหว่างประเทศ สหรัฐฯก็ต้องพิมพ์เงินออกมาตลอดเวลา นี่ยังไม่รวมถึงการเข้าไปช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามนะครับ ที่ดังๆเลยก็แผนการมาร์แชลหรือ Marchall Plan ที่สหรัฐฯได้เข้าไปกอบกู้เศรษฐกิจในยุโรปตะวันตกไม่ให้ล้มครืนลงมา ทั้งในรูปแบบเงินช่วยเหลือและเงินกู้  โดยประเมินกันว่าแผนการช่วยเหลือครั้งนั้น ใช้เงินไปกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์กันเลยทีเดียว รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เน้นการบริโภคเป็นหลัก คนในสหรัฐฯมีเยอะครับ ของในประเทศบริโภคไม่พอก็ต้องนำเข้ากันอีก ก็ขาดดุลการค้ากันโครมคราม โดยจากญี่ปุ่นครับ ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมสหรัฐฯถึงกล้าพิมพ์เงินมาเยอะขนาดนั้นหล่ะ ก็เพราะทุกๆ 35 ดอลลาร์แลกเป็นทองได้นั่นเอง ฉันจะพิมพ์ ไม่โอเคก็เอาเงินดอลลาร์มาแลกทองไป สบายจะตาย แต่ลืมอะไรไปหรือเปล่าครับ ทองคำมีได้มันก็หมดได้ครับ ถึงสหรัฐฯจะถือทองคำไว้มากที่สุด แต่จากการที่สหรัฐฯเข้าไปวุ่นวายกับประเทศอื่นขนาดนั้น รวมถึงนำเข้ามากจนดุลบัญชีเดินสะพัดแดงเป็นทะเลเพลิงขนาดนั้น ไม่มีประเทศไหนกล้าถือเงินดอลลาร์ไว้หรอกครับ ไม่แคล้วก็ต้องนำเงินดอลลาร์มาแลกเป็นทองคำกันเกือบทุกประเทศ จนทองคำของสหรัฐฯก็ร่อยหรอลงไป แม้จะมีความพยายามตั้งกองทุนทองคำขึ้นมาเพื่อรักษาระบบนี้ไว้ แต่ด้วยเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอลง ก็ทำให้ประธานาธิบดีในขณะนั้ ริชาร์ด นิกสัน ก็ออกมายกเลิกข้อไม่รับแลกเงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นทองคำเป็นผลให้ระบบ Bretton Woods จบลงไปในปี 1971 (ระบบนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ปี คศ.1944)และปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆจนปัจจุบันเกือบทุกประเทศได้หันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวภายใต้การจัดการ

- Advertisement -

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านคงสงสัยเพิ่มเติมว่าระบบ Bretton Woods มันถูกยกเลิกไปทั้งกว่า 4 ทศวรรษแล้ว ทำไมหลายประเทศยังใช้เงินดอลลาร์อยู่หล่ะ ทำไมไม่ยกเลิกมันไปเสีย ตรงนี้อาจจะอธิบายได้เป็นข้อๆตามนี้ครับ

  1. ระบบ Bretton Woods ฝังอยู่กกับการเงินโลกมาเกือบ 3 ทศวรรษด้วยกัน ซึ่งในระหว่างนั้นจำนวนเงินดอลลาร์ก็เพิ่มขึ้น มากมายมหาศาลไปแล้วนั่นเอง เพราะต้องใช้เป็นทั้งสื่อกลางการค้า ช่วยเหลืประเทศในแถบยุโรป นำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นอีก
  2. จากข้อแรก เงินดอลลาร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในช่วงนั้นได้กระจัดกระจายไปอยู่กับทุกๆประเทศและถือเงินดอลลาร์เป็นหนึ่งในทุนสำรองกันทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯมาตลอด เช่น ญี่ปุ่น พูดง่ายๆก็คือทุกประเทสเก็บสะสมความั่งคั่งของตัวเองในรูปเงินดอลลาร์กันไปเป็นจำนวนมาก(แม้จะเก็บทองคำด้วย แต่ก็ยังน้อยกว่าดอลลาร์อยู่โข) การยุติบทบาทของดอลลาร์จะเป็นการ “ลบ” ความมั่งคั่งของประเทศเหล่านั้นออกไป ซึ่งทุกๆประเทศคงไม่ยอมเป็นแน่แท้
  3. ผลที่ตามมาอีกหนึ่งประการก็คือทำให้ราคาทองคำถูกนำไปเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯครับ ถึงแม้จะใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแลกทองคำไม่ได้แล้ว แต่ค่าที่เปรียบเทียบก็ไม่ได้ผูกที่ 35 ดอลลาร์ต่อหนึ่งออนซ์ต่อไป ก็ปล่อยให้เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนทำให้ทองคำ 1 ออนซ์ในตอนนี้มาอยู่ที่ $1,300(ในขณะเขียนบทความ) หากลองเทียบกับในอดีตเราก็จะรู้ครับว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้มแข็งราวกับหินผาเลยทีเดียว (อันนี้ประชดนะ  – -”)  

ถูลู่ถูกังมาถึงตอนจบจนได้ครับ บทความที่เขียนมาถึงสี่ตอนนั้น ผมก็หวังเพียงว่าทุกท่านจะได้เข้าใจกันแล้วว่าน้องทองกับพี่ดอลลาร์มันมาเกี่ยวข้องกันอย่างไรนะครับ ครั้งหน้าจะมีเรื่องอะไรมาโม้ให้อ่านอีก อยากให้ทุกท่านติดตามกันต่อไปนะครับ

- Advertisement -

Comments
Loading...