วิเคราะห์ราคาทองคำ 24 ก.พ.63(ภาคเช้า) by HGF

โดย : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)
ไวรัสโควิด-19 หนุนราคาทองคำทำจุดสูงสุดในรอบ 7 ปี
คืนนี้สหรัฐจะประกาศดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ
ทองคำคาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,610-1,623 ดอลลาร์
- ราคาทองคำ Spot เมื่อวานยังคงเดินหน้าปรับขึ้นแรงทำจุดสูงสุดในรอบ 7 ปี และทะลุแนวต้าน 1,620 ดอลลาร์ได้ในช่วงกลางคืน ถึงแม้ว่าในช่วงระหว่างวันมีแรงเทขายทำกำไรออกมาก็ตาม เนื่องจากไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างหนักทั้งในจีนและประเทศอื่นๆ ที่คาดจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทางด้านกองทุน SPDR ซื้อทองคำต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 อีก 2.04 ตัน รวมทั้งสิ้นซื้อ 9.65 ตันในสัปดาห์นี้
- สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อราคาทองคำ คืนนี้สหรัฐจะประกาศดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ตลาดคาดจะลดลงสู่ระดับ 51.5 จากระดับ 51.9 ในเดือนม.ค. ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.พ. ตลาดคาดจะทรงตัวที่ระดับ 53.3 ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.ตลาดคาดจะลดลงสู่ระดับ 5.46 ล้านยูนิต
- ราคาทองคำคาดยังทรงตัวในระดับที่สูง และคาดจะมีแรงซื้อกลับเช่นกัน ทำให้การปรับลงมีกรอบที่จำกัด โดยทองคำคาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,610-1,623 ดอลลาร์ ทองคำมีแนวต้านที่ 1,623 ดอลลาร์ และ 1,630 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวรับที่ 1,610 ดอลลาร์ และ 1,600 ดอลลาร์
ราคาทองตลาดโลก
Close | chg. | Support | Resistance |
1,619.50 | +8.0 | 1,610/1,600 | 1,623/1,630 |
ราคาทองแท่ง 96.5%
Close | chg. | Support | Resistance |
23,900 | +200 | 23,950/23,800 | 24,200/24,250 |
โกลด์ฟิวเจอร์ส
Close | chg | Support | Resistance |
24,270 | +180 | 24,100/23,950 | 24,250/24,350 |
เทรดดิ้งระยะสั้นแนะนำซื้อขายตามกรอบราคาทอง Spot ระหว่าง 1,610-1,623 ดอลลาร์ (GF 24,100-24,250 บาท)
โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์
Close | chg | Support | Resistance |
1,626.50 | +11.50 | 1,615/1,605 | 1,628/1,635 |
เทรดดิ้งระยะสั้นแนะนำซื้อขายตามกรอบราคา GOH19 ระหว่าง 1,615-1,628 ดอลลาร์
ค่าเงินบาท
ทิศทางเงินบาทในวันนี้คาดจะเริ่มทรงตัว โดยเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และเม็ดเงินจากต่างประเทศที่ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยจะกดดันต่อเงินบาท แต่ด้วยเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อวาน ทำให้จะเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาในเงินบาท โดย USD Futures เดือนมี.ค.63 คาดจะมีแนวรับที่ 31.30 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 31.45 และ 31.50 บาท/ดอลลาร์
News
ตลาดการเงินต่างประเทศ :ดอลล์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก เหตุนลท.เทขายหลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ส่วนดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.6% สู่ระดับ 99.2624 ในการซื้อขายเมื่อคืนนี้
ตลาดโลหะมีค่าต่างประเทศ : ทองปิดพุ่ง $28.3 ข้อมูลศก.อ่อนแอหนุนแรงซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 7 เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ.) และแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2556 เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ลดลง และดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ได้กระตุ้นแรงซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยนอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ยังคงเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยด้วย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 28.3 ดอลลาร์ หรือ 1.75% ปิดที่ 1,648.8 ดอลลาร์/ออนซ์ และในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาทองปรับขึ้น 3.9% สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 21.1 เซนต์ หรือ 1.15% ปิดที่ 18.53 ดอลลาร์/ออนซ์
ตลาดน้ำมันดิบต่างประเทศ : น้ำมัน WTI ปิดลบ 50 เซนต์ เหตุวิตกอุปสงค์ลดจากผลกระทบไวรัสโควิด-19
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนกลับมาวิตกเกี่ยวกับความต้องการน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และตลาดยังถูกกดดันจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมทางธุรกิจที่อ่อนแอลงในเดือนก.พ. สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 50 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 53.38 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 81 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 58.50 ดอลลาร์/บาร์เรล
ตลาดหุ้นต่างประเทศ : ดาวโจนส์ปิดลบ 227.57 จุด วิตกไวรัสโควิด-19,ข้อมูลศก.อ่อนแอฉุดตลาด
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศจีนและในต่างประเทศ นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ถึงกิจกรรมทางธุรกิจเดือนก.พ.ที่อ่อนแอในสหรัฐ ได้กดดันตลาดด้วย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 28,992.41 จุด ลดลง 227.57 จุด หรือ -0.78%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,337.75 จุด ลดลง 35.48 จุด หรือ -1.05% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 9,576.59 จุด ลดลง 174.38 จุด หรือ -1.79%
