GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 26 ม.ค.65 by YLG

313

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

เก็งกำไรระยะสั้น โดยอาจพิจารณาโซน 1,833-1,819 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดซื้อ อย่างไรก็ตามหากราคาปรับตัวขึ้นไปไม่สามารถยืนเหนือ 1,863 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อาจเลือกลดสถานะซื้อลงโดยคำนึงถึงความผัวผวนของราคาจากการประชุมเฟด

แนวรับ : 1,833 1,819 1,805  แนวต้าน : 1,863 1,877 1,892

จจัยพื้นฐาน

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยระหว่างวันราคาทองคำยังคงได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตกในประเด็นยูเครน  ล่าสุดวานนี้นายเจมส์ ฮีปปีย์ รัฐในตรีกลาโหมอังกฤษ เปิดเผยว่า  รัสเซียได้ส่งบุคลากรจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับชุดจู่โจมล่วงหน้าทางทหารเข้าสู่ยูเครนแล้ว ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐกล่าวว่า เขาจะพิจารณาคว่ำบาตรส่วนบุคคล(personal sanctions) ต่อประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน หากรัสเซียตัดสินใจบุกยูเครน  สถานการณ์ยังคงกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจนหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือนบริเวณ 1,853.78 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำมีแรงขายสลับเข้ามาโดยได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์ ที่แข็งค่าขึ้นจากแรงซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย และการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าที่คาดไว้เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อปัจจัยดังกล่าวสกัดช่วงบวกราคาทองคำด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +4.65 ตันสะท้อนกระแสเงินทุนที่ไหลกลับเข้าสู่กองทุน ETF ทองท่ามกลางการร่วงลงของสินทรัพย์เสี่ยงสำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐ  พร้อมจับตาผลการประชุมเฟดในเวลา 02.00 น.และถ้อยแถลงนายเจอโรม  พาวเวลประธานเฟดในเวลา 02.30 น. คาดเฟดจะอัตราดอกเบี้ยไว้ที่0.00-0.25% พร้อมส่งสัญญาณเกี่ยวกับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. รวมถึงแผนการปรับลดขนาดงบดุลในอนาคต  หากผลการประชุมที่ Hawkish น้อยกว่า หรือ ตามคาด อาจส่งผลหนุนทองคำได้  กลับกันหากผลการประชุม Hawkish มากกว่าการคาดการณ์ของตลาดจะเป็นปัจจัยกดดันทองคำเช่นกัน

จจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำสามารถยืนเหนือโซน 1,837-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ มีผลให้ราคาพยายามทรงตัวและดีดตัวขึ้นช่วงสั้น หรือหากตลอดทั้งวันยังสามารถยืนเหนือแนวรับแรกได้ คาดว่าจะเกิดแรงซื้อเข้ามาเพิ่ม โดยราคามีโอกาสขึ้นมาถึงบริเวณกรอบแนวต้านโซน 1,863 ดอลลาร์ต่อออนซ์แต่หากไม่สามารถผ่านได้ คาดจะมีแรงขายทำกำไรออกมาเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์การลงทุน :

หากรับความเสี่ยงได้ดูบริเวณ 1,833-1,819 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่หลุดสามารถเข้าซื้อเก็งกำไรระยะสั้น เพื่อขายทำกำไรเมื่อราคาดีดตัวหรือบริเวณแนวต้าน 1,863  ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคหลุดแนวรับ 1,819 ดอลลาร์ต่อออนซ์สถานะซื้อควรตัดขาดทุน

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 66.77 จุด กังวลสถานการณ์ยูเครน-เฟดขึ้นดบ.ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (25 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนและแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างไรก็ดี ดาวโจนส์ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในระหว่างวัน โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร  ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 34,297.73 จุด ลดลง 66.77 จุด หรือ -0.19%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,356.45 จุด ลดลง 53.68 จุด หรือ -1.22% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,539.30 จุด ลดลง 315.83 จุด หรือ -2.28%
  • (+) IMF หั่นคาดการณ์ GDP โลกปีนี้สู่ 4.4% โควิด-เงินเฟ้อกระทบเศรษฐกิจกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ โดยระบุว่าได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19, ภาวะคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น  ทั้งนี้ IMF เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) ในวันนี้ โดยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะมีการขยายตัว 4.4% ในปี 2565 ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ 4.9% ในรายงานเดือนต.ค.ปีที่แล้ว หลังจากที่มีการขยายตัว 5.9% ในปี 2564  อย่างไรก็ดี IMF ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2566 สู่ระดับ 3.8% จากเดิมที่ระดับ 3.6%  ขณะเดียวกัน IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 4.0% ในปีนี้ ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 5.2% โดยได้รับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถอนมาตรการกระตุ้นทางการเงิน  ส่วนเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัว 4.8% ในปีนี้ ลดลงจากเดิมที่ระดับ 5.6% โดยได้รับผลกระทบจากนโยบาย zero-Covid policy รวมทั้งภาวะตึงตัวทางการเงินโดยมีสาเหตุจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์
  • (+) อังกฤษแฉรัสเซียส่งชุดจู่โจมล่วงหน้าเข้าสู่ยูเครนแล้วนายเจมส์ ฮีปปีย์ รมว.กลาโหมอังกฤษ เปิดเผยว่า กองกำลังของรัสเซียได้อยู่ในยูเครนแล้วในขณะนี้  นายฮีปปีย์ระบุว่า รัสเซียได้ส่งบุคลากรจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับชุดจู่โจมล่วงหน้าทางทหารเข้าสู่ยูเครนแล้ว ก่อนที่จะทำการบุกโจมตีครั้งใหญ่
  • (+) รัสเซียแสดงความกังวล หลังสหรัฐเตรียมเคลื่อนกำลังทหารไปยุโรปนายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่า รัสเซียมีความกังวลเป็นอย่างยิ่ง หลังมีข่าวว่า สหรัฐได้เตรียมกำลังทหาร 8,500 นายพร้อมเคลื่อนพลไปยังยุโรป หากวิกฤตการณ์ยูเครนเลวร้ายลง  “เรากำลังจับตาท่าทีของสหรัฐด้วยความกังวลเป็นอย่างยิ่ง” นายเพสคอฟกล่าว  คำกล่าวของนายเพสคอฟตอกย้ำถ้อยแถลงของเขาวานนี้ที่ว่า สหรัฐและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กำลังเพิ่มความตึงเครียดต่อสถานการณ์ในยูเครน  นายเพสคอฟกล่าวว่า มีความเสี่ยงมากขึ้นที่ยูเครนจ ะเข้าโจมตีกลุ่มติดอาวุธทางตะวันออกของประเทศซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย  นอกจากนี้ นายเพสคอฟยังระบุว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย จะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อปกป้องประเทศ
  • (-) ดอลล์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (25 ม.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ ขณะที่สกุลเงินยูโรถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ปรับตัวขึ้น 0.04% แตะที่ 95.9510 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 113.91 เยน จากระดับ 113.82 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9196 ฟรังก์ จากระดับ 0.9145 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2609 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2647 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1296 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1321 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3518 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3481 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7170 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7130 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) เฟดริชมอนด์เผยดัชนีภาคการผลิตต่ำกว่าคาดในเดือนม.ค.ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาริชมอนด์ เปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีภาคการผลิตดิ่งลงสู่ระดับ 8 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 15 จากระดับ 16 ในเดือนธ.ค.
  • (-) Conference Board เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐสูงกว่าคาดในเดือนม.ค.ผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 113.8 ในเดือนม.ค. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 111.8 จากระดับ 115.2 ในเดือนธ.ค.
  • (-) “เอสแอนด์พี” เผยราคาบ้านสหรัฐพุ่ง 18.8% ในเดือนพ.ย.ผลสำรวจของเอสแอนด์พี คอร์โลจิก เคส ชิลเลอร์ บ่งชี้ว่า ดัชนีราคาบ้านในสหรัฐยังคงดีดตัวขึ้นในเดือนพ.ย. ทั้งนี้ ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐพุ่งขึ้น 18.8% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี แต่ต่ำกว่าระดับ 19.0% ในเดือนต.ค. ส่วนดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.3% หลังจากพุ่งขึ้น 18.5% ในเดือนต.ค.

- Advertisement -

Comments
Loading...