GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 2 มิ.ย.64(ภาคเช้า) by YLG

489

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

แนะนำซื้อขายทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว หากราคาสามารถยืนเหนือแนวรับโซน 1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ให้เปิดสถานะซื้อ และขายทำกำไรหากไม่ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,917-1,929 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,886 1,872 1,859  แนวต้าน : 1,917 1,927 1,943

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 6.39  ดอลลาร์ต่อออนซ์  หลังจากในระหว่างวันราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในรอบเกือบ 5 เดือนบริเวณ  1,916.44 ดอลลาร์ต่อออนซ์โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำอ่อนตัวลงในเวลาต่อมา  โดยได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรและแรงขายทางเทคนิคหลังเกิดสัญญาณบ่งชี้ว่าแรงซื้อในตลาดทองคำเริ่มชะลอตัวลง  นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเนื่องจากตัวเลขในภาคการผลิตของสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด  ทั้งดัชนี PMI  ภาคการผลิตของสหรัฐจากมาร์กิตที่ปรับตัวขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 62.1 ในเดือนพ.ค. ส่วน ISM  เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 61.2 ในเดือนพ.ค. ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 60.8 เช่นกัน  ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,892.37  ดอลลาร์ต่อออนซ์  ก่อนที่ราคาทองคำจะฟื้นตัวขึ้นจากแรงซื้อ Buy the dip  ประกอบกับการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นไปอย่างจำกัด  เนื่องจากรายงานของ ISM ระบุว่า  ภาคการผลิตยังเชิญกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุพื้นฐานที่สำคัญ ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น อุปสรรคในการขนส่งสินค้า และการขาดแคนคนงาน  ที่ยังคงจำกัดศักยภาพในการเติบโตของภาคการผลิตซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐในอนาคต  สิ่งนี้ช่วยตอกย้ำจุดยืนในเชิงผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนให้ราคาฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดใกล้ 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ในที่สุด  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +2.62 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยBeige Book  รวมถึงถ้อยแถลงของนาย Raphael Bosticประธานเฟดแอตแลนตา  และนายCharles Evans ประธานเฟดชิคาโก

จจัยทางเทคนิค :

แม้วันก่อนหน้าราคาทองคำมีการปรับตัวลดลง แต่ระยะสั้นหากพยายามจะดีดตัวขึ้นไปทดสอบระดับ 1,917 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถยืนได้ ราคาอาจอ่อนตัวลงอีกครั้ง  แต่หากยืนเหนือแนวรับโซน 1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่างมั่นคง จะเกิดแรงซื้อดันให้ราคาปรับตัวขึ้นประเมินแนวต้านบริเวณ 1,917-1,929 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นทำกำไรระยะสั้นโดยเปิดสถานะซื้อ หากราคาสามารยืนเหนือแนวรับ 1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยตัดขาดทุนหากหลุดโซนดังกล่าว สำหรับการปิดสถานะซื้อเพื่อทำกำไรอาจพิจารดูบริเวณ 1,917 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนได้ให้ชะลอการขายทำกำไรที่แนวต้านถัดไป 1,929 ดอลลาร์ต่อออนซ์

  • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิตยุโรปเดือนพ.ค.ดีดตัวแรง แม้ต้นทุนวัตถุดิบพุ่งทำนิวไฮ  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค. ทะยานขึ้นสู่ระดับ 63.1 จากระดับ 62.9 ของเดือนเม.ย. ซึ่งดีกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นก่อนหน้านี้ที่ระดับ 62.8 และเป็นตัวเลขสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการรายงานมา นับตั้งแต่ที่มาร์กิตเริ่มจัดทำดัชนีเมื่อเดือนมิ.ย. 2540
  • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิตฝรั่งเศสเดือนพ.ค.พุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 20 ปี  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นแตะระดับ 59.4 ในเดือนพ.ค. จากเดิม 58.9 ในเดือนเม.ย. ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2543
  • (+) ดอลล์อ่อนค่าเล็กน้อย นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานสหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 มิ.ย.) หลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.01% แตะที่ 89.8295 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.42 เยน จากระดับ 109.49 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8966 ฟรังก์ จากระดับ 0.8988 ฟรังก์ แต่เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.2058 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2050 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2228 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2227 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.4160 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4202 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งขึ้นสู่ระดับ 0.7763 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7737 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค. รับยอดคำสั่งซื้อใหม่โตต่อเนื่อง  สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 61.2 ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ย. ที่ระดับ 60.7  ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว
  • (-) ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐพุ่งนิวไฮในเดือนพ.ค.  ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 62.1 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 60.5 ในเดือนเม.ย. และยังมากกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 61.5 ด้วย  ดัชนี PMI ดีดตัวขึ้นในเดือนพ.ค. แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนพ.ค.2550 และดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ
  • (-) อนามัยโลกไฟเขียววัคซีนโควิดของซิโนแวกเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้ว  องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยแถลงการณ์ในวันนี้ (1 มิ.ย.) ระบุว่า WHO ได้อนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนแวก ไบโอเทคของจีนในกรณีฉุกเฉินแล้ว ซึ่งนับเป็นวัคซีนโควิดตัวที่ 2 ของจีนที่ได้รับการรับรองจาก WHO ต่อจากวัคซีนโควิดของซิโนฟาร์ม
  • (+/-) ดาวโจนส์ปิดบวก 45.86 จุด รับความหวังเศรษฐกิจฟื้นตัว  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มการเงิน ซึ่งเป็นหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ภาวะการซื้อขายค่อนข้างผันผวน ขณะที่ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ปิดในแดนลบ เนื่องจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพและกลุ่มเทคโนโลยีเป็นปัจจัยฉุดตลาด  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,575.31 จุด เพิ่มขึ้น 45.86 จุด หรือ +0.13% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,202.04 จุด ลดลง 2.07 จุด หรือ -0.05% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,736.48 จุด ลดลง 12.26 จุด หรือ -0.09%
  • (+/-) โอเปกพลัสตกลงผลิตน้ำมันป้อนตลาดโลกเพิ่ม 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงก.ค.  สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัสได้ตกลงกันในวันนี้ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอย่างค่อยเป็นค่อยไปท่ามกลางการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมัน  กลุ่มโอเปกพลัสจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในเดือนก.ค.นี้ ซึ่งเป็นไปตามการตัดสินใจในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาของโอเปกที่จะกลับไปผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวันเข้าสู่ตลาดระหว่างเดือนพ.ค.-ก.ค. 

- Advertisement -

Comments
Loading...